จากข้อสมมติฐานของนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้
ทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ในยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่
20
หลั่งไหลไปค้นหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์ถึงต้นกำเนิดของโฮมินิดตามบริเวณต่าง
ๆ ของทวีปแอฟริกา เช่น
ขุดค้นตามช่องเขาลึก (gorge)
บริเวณไหล่ทวีป
และแถบใกล้ทะเลของประเทศทันซาเนีย
เอธิโอเปีย
ยูกานดา รวมทั้งบริเวณที่มีการขุดเหมืองแร่ในแอฟริกาตอนใต้
ทั้งนี้
เพราะเชื่อกันว่าจะพบซากดึกดำบรรพ์ที่เคยอาศัยอยู่ตามเขา
ซึ่งอาจพลัดตกลงไปในช่องเขาลึก
หรือเคยอาศัยอยู่ตามแถบไหล่ทวีป
จึงทำการขุดค้นกันอย่างขนาดใหญ่ในระหว่างปี
คศ. 1920 เรื่อยมาจนถึงปี คศ. 1975
ในปัจจุบันยังมีนักมานุษยวิทยากายภาพเดินทางไปยังบริเวณแถบนี้ของโลกอย่างสม่ำเสมอเพื่อดูร่องรอยเก่า
ๆ
และบางคนก็หวังว่าอาจจะพบกับสิ่งอื่นใดที่ยังไม่มีผู้ใดค้นพบ
อนึ่ง
นอกจากกาฬทวีปนี้แล้ว
นักวิทยาศาสตร์บางส่วนก็ค้นหาหลักฐานของมนุษย์โบราณในทวีปอื่น
ๆ
ของโลกและได้พบซากที่เชื่อกันว่ามีความสำคัญต่อการสืบสาวหาสายการวิวัฒนาการของโฮมินิดมากมาย
จากหลักฐานที่ค้นพบตามแหล่งหรือบริเวณ
(site) ในแถบแอฟริกาตอนใต้
5 แห่ง
ได้แก่ Swartkrans, Sterkfontein, Makapansgat, Kromdraai
และ Taung ได้พบฟัน หัวกะโหลก และกะโหลกส่วนหลังจำนวน
1,022 ชิ้น ในขณะเดียวกัน
พบหลักฐานบริเวณแถบแอฟริกาตะวันออกที่ช่องเขาลึกโอลดูไว
(Olduvia Gorge) มากมาย
เมื่อผู้เชี่ยวชาญร่วมกันวิเคราะห์หลักฐานดังกล่าว
จึงลงความเห็นว่า หลักฐานที่ค้นพบบางส่วน
คือ โฮมินิดในสกุลออสตราโลพิธิคัส
ซึ่งเชื่อกันว่า ออสตราโลพิธิคัสนี้น่าจะเป็นโฮมินิดกลุ่มแรกที่เป็นจุดเชื่อมต่อจากวานร
(และรามาพิธิคัส
หรือมนุษย์กึ่งวานรกึ่งโฮมินิด)
มาเป็นโฮมินิดจริง ๆ
จึงประกาศว่า
พวกเขาได้ค้นพบจุดเชื่อมต่อ
(missing link)
จากวานรมาเป็นโฮมินิดที่แท้จริง
|