ลำดับยุคทางธรณีวิทยาที่มีผลต่อการวิวัฒนาการของมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาความเป็นมาของมนุษย์ด้วยการย้อนรอยอดีตไปนับตั้งแต่โลกมีอุณหภูมิเย็นลงภายหลังที่หลุดเป็นอิสระจากดวงอาทิตย์
เพื่อเรียนรู้ถึงต้นตอการกำเนิดสิ่งมีชีวิตและการวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
วิธีการศึกษาก็คือ
การจัดแบ่งช่วงเวลาทางธรณีวิทยา
(geological time scale) ออกเป็นยุค ๆ
และตรวจสอบดูว่า
ในแต่ละยุคนั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตใดบ้าง
นับตั้งแต่เปลือกโลกแข็งต้วเมื่อราว
3,500 ล้านปีมาแล้ว
สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นครั้งแรกเป็นสัตว์เซลล์เดียวที่มีลักษณะคล้ายกับแบคทีเรียและพวกเห็ดราที่ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ
ช่วงเวลานี้เรียกว่า
พรีแคมเบรียน (precambrian)
ซึ่งดำเนินเรื่อยมาจนถึงเมื่อประมาณ
600 ล้านปี ต่อจากนั้น
ก็เข้ายุคต่าง ๆ ดังนี้
1.
ยุคพาลิโอโซอิก
(ระหว่าง 570 - 225
ล้านปีมาแล้ว)
มีการค้นพบซากเน่าเปื่อยที่ฝังลึกอยู่ใต้ชั้นดินเป็นจำนวนมากเพียงพอที่ทำให้ทราบว่า
ในยุคนี้มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นหลายชนิด
ส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง และมีโครงสร้างทางร่างกายแบบง่าย
ๆ จากนั้น
ก็วิวัฒนาการกลายเป็นปลา
ซึ่งมีกระดูกสันหลังแต่ไม่มีขากรรไกร
ต่อมา
กลายเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อราว
395 - 345 ล้านปีมาแล้ว
และในที่สุดกลายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน
รวมทั้งแมลงประเภทต่าง
ๆ
ก็เกิดขึ้นในตอนปลายของยุคนี้
2.
ยุคเมโสโซอิก
(ระหว่าง 225 - 65
ล้านปีมาแล้ว)
ยุคนี้เป็นยุคที่น้ำแข็งที่ปกคลุมโลกได้ละลายลง
ก่อให้เกิดการพังทะลายของภูเขาในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ
สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นในช่วงแรกของยุคนี้
ได้แก่
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ในขณะที่สัตว์เลื้อยคลานครองอำนาจเหนือโลก
ต่อมา ในช่วงกลาง
มีนกเกิดขึ้น
และในช่วงสุดท้าย
มีเหตุการณ์สำคัญก็คือ
การสูญพันธุ์ของไดโนเสาและสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่
|