ประเด็นสุดท้าย
มีการนำความรู้ทางพันธุศาสตร์ไปใช้ในการอธิบายโรคบางชนิดที่สืบทอดทางพันธุกรรม
เช่น โรคเลือดออกไม่หยุด (มีการศึกษาโรคนี้ในราชวงศ์อังกฤษนับตั้งแต่พระนาง
วิคตอเรียลงมาหลายชั่วอายุคน)
และโรคโลหิตจาง เป็นต้น
พันธุศาสตร์กับการวิวัฒนาการ
ความรู้ในเรื่องโครงสร้างทางชีวภาพในระดับเซลล์และโมเลกุล
บวกกับกฎของเมนเดลในเรื่องกระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีความสำคัญยิ่งต่อการศึกษาสาขามานุษยวิทยากายภาพในแง่ของการวิวัฒนาการของมนุษย์
ทำให้เราทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการวิวัฒนาการได้อย่างละเอียด
ดังที่กล่าวแล้วว่า
คุณลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดไปยังลูกหลานนั้นจะถูกส่งผ่านทางโมเลกุลดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอของเซลล์สืบพันธุ์
หากประชากรที่มีคุณลักษณะเดียวกันผสมพันธุ์กันภายใต้สถานการณ์ปกติ
ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในรุ่นลูก
ทั้งนี้เพราะความแตกต่างไม่เกิดขึ้นในโมเลกุลในขณะที่มีการปฏิสนธิ
นั่นหมายความว่า
แรงผลักที่จะก่อให้เกิดการวิวัฒนาการยังไม่ปรากฏ
การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมี
"อุบัติเหตุ"
ในโครงสร้างโมเลกุลในขณะที่เกิดการปฏิสนธิ หรือที่เรียกว่า
การผ่าเหล่าหรือมิวเทชั่น
โดยฐาน (bases)
ของโมเลกุลจะปะกบคู่ผิดพลาด
แตกต่างไปจากเดิม
และจะก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนโปรตีน
ซึ่งจะทำให้รูปลักษณ์ของโมเลกุลใหม่เปลี่ยนไป เมื่อยีนตัวที่แปรเปลี่ยน
(mutated gene)
นี้ถูกถ่ายทอดไปยังลูกหลานจะทำให้กลายเป็นเซลล์ที่มีคุณลักษณะใหม่
นั่นคือ
เป็นการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและจะยังผลให้เกิดการวิวัฒนาการต่อไปในอนาคต
ซึ่งอาจใช้เวลานานนับเป็นสิบเป็นร้อย
หรือเป็นล้านปีที่จะเกิดเป็นกลุ่มประชากรใหม่ขึ้น
(ดูรายละเอียดในเรื่องหลักที่ก่อให้เกิดการวิวัฒนาการในบทที่
3 ประกอบ)
|