บทที่4  ความรู้พื้นฐานของสิ่งมีชีวิตและกฎของเมนเดล  >> หน้า 13


                เป็นแบบเดียวกันหมด  นั่นคือ รูปลักษณ์เป็นถั่วขรุขระทั้งหมด  สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถั่วพันธุ์ขรุขระเป็นลักษณะเด่น (dominant trait) ที่มองเห็นได้ชัดซึ่งจะข่มถั่วพันธุ์กลมที่เป็นคุณลักษณะด้อย (recessive trait)  ที่ซ่อนไม่ปรากฏให้เห็นได้ด้วยตา

                ส่วนลูกรุ่นที่ 2  จะปรากฏเป็นถั่วขรุขระ 3 ส่วน  และถั่วพันธุ์แท้ 1 ส่วน  หรืออัตราส่วนที่มองเห็น คือ 3 : 1

                จากผลการทดลองนี้   จะเห็นได้ว่า  การผสมถั่วข้ามพันธุ์จะส่งผลที่เกิดขึ้น 2 ประเภท ดังนี้

                (1) ประเภทแรก  รูปลักษณ์ที่ปรากฏให้เห็นด้วยสายตา (phenotype) นั้น  ลูกผสมที่เกิดขึ้นจะมีรูปลักษณ์ของถั่วที่ยีนมีคุณลักษณะเด่น (dominant trait) ปรากฏให้เห็น  ยกเว้นลูกที่มีเฉพาะยีนที่มีคุณลักษณะด้อย (recessive trait) เท่านั้น  จะปรากฏรูปลักษณ์ของพันธุ์แท้ ดังเช่น  ถั่วผสมในรุ่นที่ 1  จะมองเห็นเป็นถั่วขรุขระทั้งหมด  ส่วนในรุ่นที่ 2  จะปรากฏให้เห็นคือ  ถั่วพันธุ์กลมแท้ 1 ส่วน  และถั่วขรุขระ 3 ส่วน  ตามอัตราส่วน 1 : 3 

                (2) ประเภทที่สอง  เป็นลักษณะที่ปรากฏภายในยีน (genotype) ซึ่งมองไม่เห็นด้วยสายตา  ตัวอย่างเช่น  ลูกในรุ่นที่ 1  ลูกผสมทุกตัวจะมียีนทั้งของถั่วพันธุ์ขรุขระและถั่วพันธุ์กลมอย่างละครึ่ง  ส่วนลูกในรุ่นที่ 2  จะมีพันธุ์กลมแท้ 1 ส่วน  พันธุ์ขรุขระแท้ 1 ส่วน  และลูกผสมที่มียีนของถั่วพันธุ์ขรุขระและพันธุ์กลมอีก 2 ส่วน  ตามอัตราส่วนดังนี้  1 : 2 : 1

                เมนเดลได้ทำการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่า และทดลองกับพืชหลายชนิด  ผลการทดลองปรากฏออกมาเป็นแบบแผนเดียวกัน จะเห็นได้ว่า การทดลองของเขาก่อให้เกิดประโยชน์ 2 ประการ คือ

                (1) เป็นการอธิบายและให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการผสมข้ามสายพันธุ์

                (2) เป็นการค้นพบกฎแห่งพันธุกรรมเป็นคนแรก(7)