ตารางที่ 3.2
การเคลื่อนย้ายของยีน
ยีน ความถี่ของยีนในกลุ่มประชากรก่อนการย้ายถิ่น
ภายหลังการย้ายถิ่น
M
35
31
MN
50
50
N
15
19
จากตัวอย่างในตารางที่
3.2 จะเห็นได้ว่า
การย้ายถิ่นของยีนมีผลต่อการจับคู่และอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาก่อนการย้ายถิ่นกับช่วงเวลาหลังการย้ายถิ่น
อนึ่ง จากกระบวนการนี้
นักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมและมานุษยวิทยาสาขากายภาพจึงมักทำงานร่วมกันเพื่อศึกษาแบบแผนการย้ายถิ่นและของการเลือกคู่ครอง
ทั้งนี้การย้ายถิ่นและการเลือกคู่ครอง
เป็นกฎทางสังคมที่มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
นอกจากนี้ยังอาจตรวจสอบได้ว่า
การวิวัฒนาการเกิดขึ้นจากกระบวนการย้ายถิ่นนั้นมากน้อยเพียงใด
3. โอกาสในการจับคู่ของยีน (genetic drift)
หนทางหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ภายในยีนอย่างรวดเร็วก็คือการเกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือโอกาสแห่งการจับคู่ของยีน
จากกฎหรือทฤษฎีของฮาร์ดี
- ไวนเบอรก (Hardy
- Weinberg Low) ซึ่งตั้งข้อสมมติฐานว่า
เซลที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะประกอบด้วยอัลลีล
2
ตัวที่ได้จับคู่จากประชากรของฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่
โดยโอกาสในการจับคู่ตามเกณฑ์ปกตินั้น
อัตราส่วนที่จะจับคู่จากฝ่ายพ่อเท่ากับ
50% และจากฝ่ายแม่เท่ากับ
50%
แต่จำนวนประชากรของฝ่ายพ่อและฝ่ายแม่มีให้เลือกไม่มากนัก
ดังนั้น
โอกาสในการจับคู่ผิดโดยบังเอิญจึงเกิดขึ้น
อาทิเช่น
จะมีการจับคู่ของอัลลีลที่มีลักษณะเด่นด้วยกัน
ทำให้โอกาสในการจับคู่ของอัลลีลที่มีลักษณะด้อยลดน้อยลงไป
จึงเป็นผลให้ลูกหลานเกิดความแตกต่างไปจากพ่อแม่และจะทำให้การวิวัฒนาการเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดต่อไปในอนาคต
|