อย่างไรก็ตาม
การผ่าเหล่าจะเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก
หรือในอัตราเพียงหนึ่งในหมื่นเท่านั้น
อนึ่ง
การผ่าเหล่าจะเกิดขึ้นพร้อม
ๆ
กับการเลือกสรรทางธรรมชาติ
กล่าวคือ
เมื่อการผ่าเหล่าเกิดขึ้นในยีนแล้ว
ยีนผ่าเหล่าใหม่นี้จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
หรือไม่ก็ต้องต่อสู้เพื่อให้คงรูปใหม่นั้น
ๆ
เมื่อยีนใหม่มีชีวิตรอดจากกระบวนการเลือกสรรทางธรรมชาตินี้ได้
ก็จะคงรูปใหม่และส่งผ่านรูปลักษณ์ชนิดใหม่ไปยังลูกหลาน
อันจะก่อให้เกิดการวิวัฒนาการขึ้น
การผ่าเหล่าหรือมิวเทชั่นเป็นพลังที่ทำให้เกิดเป็นพันธุ์ใหม่
(new species) ขึ้น
ซึ่งเป็นกระบวนการแรกสุดที่จะก่อให้เกิดการวิวัฒนาการ
แต่ชาลส์
ดาร์วินไม่ทราบถึงหลักมิวเทชั่นนี้
จนกระทั่งเวลาผ่านมาถึงตอนกลางของคริสต์ศตวรรษที่
20
ความลับในเรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถทำความเข้าใจในเรื่องโมเลกุลและการเปลี่ยนแปลงภายในยีน
(ดูรายละเอียดเรื่องพันธุกรรมศาสตร์กับการวิวัฒนาการ
ในบทถัดไป)
2.
การเคลื่อนย้ายของยีนหรือไมเกรชั่น
(migration)
การเคลื่อนย้ายของยีนจากกลุ่มประชากรหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง
จะยังผลให้ยีนไม่อาจจับคู่ได้เช่นเดียวกับช่วงเวลาก่อนการย้ายถิ่น
และจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านความถี่ของยีน
ตัวอย่างเช่น สมาชิก 4
คนของกลุ่มประชากรหนึ่งซึ่งมียีนเป็นกลุ่มเลือด
M ย้ายถิ่นไปอยู่ที่อื่น
และคนกลุ่มเลือด N
ย้ายเข้ามาแทนที่
ทำให้โอกาสในการจับคู่ของยีนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความถี่ใหม่ที่เกิดขึ้น
|