จากตัวอย่างดังที่เพิ่งกล่าวถึงนี้อาจเทียบได้กับการเปลี่ยนแปลงระบบหรือแบบแผนของความถี่ภายในยีนแต่ละตัว
หากยีนได้รับการถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกหลาน
ก็จะนำความแตกต่างนี้ไปด้วย
ทำให้เราสามารถดูความแตกต่างจากกลุ่มประชากรในช่วงอายุหนึ่งกับกลุ่มประชากรในอีกช่วงอายุหนึ่งได้
ซึ่งเราเรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า
"การวิวัฒนาการระดับจุลภาค"
และหากเราเฝ้าสังเกตเป็นระยะเวลานาน
ๆ
เช่นดูการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างจากหัวกะโหลกของลิอุรังอุตังมาเป็นหัวกะโหลกของมนุษย์โฮโม
เซเปียนส์
ซึ่งช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงยาวนานนับล้านปี
เราเรียกการเปลี่ยนแปลงชนิดนี้ว่า
"การวิวัฒนาการระดับมหัพภาค"
หลักที่ก่อให้เกิดการวิวัฒนาการ
(Principles of evolution)
เมื่อเรายอมรับกันว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในหรือภายในตัวยีน
(ซึ่งจะได้กล่าวอย่างละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างทางชีวภาพของยีนและโมเลกุลดีเอ็นเอในบทถัดไป)
ของสิ่งมีชีวิตแต่ละสปิชี่
จะก่อให้เกิดการวิวัฒนาการขึ้น
ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงหลักหรือกระบวนการสำคัญที่ยังผลให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันเกิดความแตกต่างกันและในที่สุดกลายเป็นพันธุ์หรือสปิชี่ใหม่ขึ้นมา
หลักต่าง ๆ
มีดังต่อไปนี้
1.
การผ่าเหล่าหรือมิวเทชั่น
(mutation)
การผ่าเหล่าหมายถึงการเริ่มต้นของความแตกต่างทางพันธุกรรม(10)
โดยที่ยีนและ/หรือโครโมโซมที่เกิดจากการผสมพันธุ์ในขั้นไมโอซีสได้เกิดการผ่าเหล่าขึ้น
ซึ่งจะมีลักษณะที่แปลกแตกต่างจากยีนและ/หรือโครโมโซมตัวอื่น
ๆ ออกไป ยีนและ/หรือโครโมโซมผ่าเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะถูกถ่ายทอดไปยังลูกหลาน
ทำให้ลูกหลานที่ได้รับยีนผ่าเหล่ามีลักษณะโครงสร้างแตกต่างจากพ่อแม่
หากยีนผ่าเหล่ามีการผสมพันธุ์เพิ่มขึ้นในกลุ่มลูกหลานรุ่นถัดไป
การเปลี่ยนแปลงก็จะขยายตัว
และอาจกลายเป็นพันธุ์ใหม่ต่อไป
การผ่าเหล่าที่กล่าวถึงนี้จะต้องเกิดขึ้นในยีนของเซลสืบพันธุ์
(sex cell)
จึงจะเกิดการวิวัฒนาการขึ้น
ทั้งนี้เพราะจะมีการถ่ายทอดการผ่าเหล่า
(ความเปลี่ยนแปลง)
นี้ต่อไปยัง ลูกหลาน
แต่หากการผ่าเหล่าเกิดขึ้นกับยีนของเซลประเภทอื่น
การวิวัฒนาการก็จะไม่บังเกิดขึ้นเพราะจะไม่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
|