ซึ่งเป็นความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนชื่อ
คาโรลัส ลินเน่ (Carolus Linnaeus)
มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี
คศ. 1707 - 1773
ได้ทำการจัดจำแนกและจัดลำดับสิ่งมีชีวิตที่พบในทวีปยุโรปและที่นำมาจากทวีปอื่น
ๆ
จากนักเดินทางในยุคนั้น
หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี
คศ. 1758
เป็นผลงานหลักที่ทำให้ลินเน่มีชื่อเสียงมากเพราะเขาได้จำแนกพืชและสัตว์ออกเป็นกลุ่ม
ๆ
อย่างเป็นระบบและตั้งชื่อเรียกพืชและสัตว์
แต่ละประเภทตามสปิชี่
(species)
ของมันด้วยการพิจารณาถึงโครงสร้างและหน้าที่ทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
ความสำเร็จของลินเน่ก่อให้เกิดคำกล่าวขวัญที่ว่า
"พระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งขึ้นบนโลก
ส่วนลินเน่เป็นผู้จัดจำแนกอย่างเป็นระบบ"(4)
ดังนั้น
งานของลินเน่จึงเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นงานที่จัดระบบโลกของพืชและโลกของสัตว์ได้อย่างดีเยี่ยม
และทำให้คนในยุคนั้นมองสิ่งมีชีวิตว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงอยู่อย่างเป็นระบบ
มิได้ตั้งอยู่อย่างสับสนปนเปกัน
อนึ่ง
หนังสือเล่มนี้เป็นการยืนยันและสนับสนุนคำกล่าวอ้างของอริสโตเติลที่ได้ให้แนวคิดเป็นเดียวกันนี้เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว
ดังนั้น
จึงเห็นได้ว่าลินเน่ยังได้ฝังใจและยึดถือตามทัศนคติที่ว่า
"ระบบของสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งแน่นอนตายตัวตามที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างไว้
และระบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง"
(fixed by creation and never change)
อย่างไรก็ตาม
ทรรศนะเกี่ยวกับความสถิตของสรรพสิ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากนักปรัชญาร่วมสมัยกับลินเน่จำนวนหลายคน
คนสำคัญที่น่าจะนำมากล่าว
ก็คือขุนนางชาวฝรั่งเศสชื่อ
ยอร์จ หลุยส์ เลอเคลร์
(Georges Louis Leclerc)
หรือที่รู้จักกันในนาม
บุฟฟง (Buffon)
ผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในระหว่างปี
คศ. 1707 - 1778
บุฟฟงและสมาชิกคนอื่น ๆ
ในกลุ่มนี้ได้ตั้งสมมติฐานว่า
(1)
จักรวาลจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่
(2)
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างเหมือนกันจะสืบสายสัมพันธ์มาจากบรรพบุรุษเดียวกัน
ซึ่งจากสมมติฐานดังกล่าว
บุฟฟงจึงให้ความเห็นต่อไปอีกว่า
"เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งที่จะมองสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
ว่าเป็นกระบวนการของระบบที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
ทุกสิ่งหาได้มีโครงสร้างทางกายภาพที่แน่นอนตายตัว"

|