2.
การวิวัฒนาการของสมอง
นักมานุษยวิทยาให้ความสนใจในการศึกษาหัวกะโหลก
(skull)
เพราะจะเป็นตัวชี้นำให้รู้ถึงความสามารถในการรองรับปริมาตรของมันสมอง
กล่าวกันว่า
โฮมินิดมีขนาดของมันสมองต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
เช่น รามาพิธิคัสและออสตราโลพิธิคัสมีขนาดมันสมองราว
500 ลบ.ซม. โฮโม อีเรกตัสมีราว
775 - 1,029 ลบ.ซม. และโฮโม เซเปียนส์มีราว
1,400 ลบ.ซม.
การศึกษาหัวกะโหลกมิได้จำกัดเฉพาะการวัดขนาดปริมาตรมันสมองเท่านั้น
แต่ยังศึกษารูปร่างและองค์ประกอบทุกชิ้นอีกด้วย
ดังนั้น
จึงจำเป็นจะต้องใช้ห้องทดลองและหัวกะโหลกทั้งที่เป็นของจริงและของจำลองเพื่อการวิจัยในรายละเอียด
ปัจจุบัน
มีการค้นคิดวิธีการใหม่ในการวัดขนาดของหัวกะโหลกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งจะก่อให้เกิดความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
วิธีการนี้เป็นการปฏิวัติวิธีการศึกษาและอาจนำไปสู่ผลการค้นคว้าใหม่ในการศึกษาวิชามานุษยวิทยากายภาพอีกด้วย
3.
การจำแนกเพศและการคำนวนอายุ
หากมีข้อเขียนที่ว่า "ซากกระดูกที่ค้นพบชิ้นนี้เป็นของมนุษย์โบราณออสตราโลพิธิคัสแอฟริคานัส
อยู่ในวัย 5 - 6 ปี เป็นเพศชาย"
อาจมีคำถามว่า
นักมานุษยวิทยาทราบได้อย่างไรว่ามนุษย์โบราณประเภทนี้มีอายุราว
1.5 ล้านปีมาแล้ว
|