จริงอยู่ที่ข้อเขียนข้างต้นเป็นการคาดคะเน
แต่การคาดคะเนนั้นเป็นการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
อาทิเช่น การคำนวนอายุอาจดูได้จาก
(1) แบบแผนการขึ้นของฟัน เช่น
ฟันน้ำนม ฟันแท้ ฟันกราม
อัตราการสึกกร่อนของฟัน
การหักหรือการสูญเสียฟัน
และความสามารถในการรองรับของกระดูกขากรรไก
(2) การคาดคะเนจากหัวกะโหลก
เนื่องจากหัวกะโหลกมิได้เป็นกระดูกชิ้นเดียว
แต่จะมีกระดูกหลายชิ้นเชื่อมต่อกัน
ทำให้หัวกะโหลกของทารกและเด็กมีรอยต่อที่ห่างกันเพื่อรอให้มีการเจริญเติบโตและการขยายตัวของกะโหลก
ส่วนหัวกะโหลกของผู้ใหญ่จะไม่มีช่องของรอยต่อที่ห่างกันเพราะหัวกะโหลกเจริญสมบูรณ์เต็มที่แล้ว
รอยต่อนี้เรียกว่า sutures
ส่วนเกณฑ์ที่ชี้ว่าเป็นเพศใดนั้น
ดูได้จากกระดูกสะโพก
เพราะกระดูกสะโพกของเพศ
หญิงจะมีโครงสร้างแบน
กว้าง
และอยู่ในตำแหน่งต่ำเพื่อจะสามารถผายออกเมื่อตั้งครรภ์
กระดูกสะโพกของเพศชายนั้นจะอยู่ในระดับสูงและแคบกว่ามาก
สำหรับการคำนวนช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่
เช่น หนึ่งล้านปีมาแล้ว
เจ็ดแสนปีมาแล้ว ฯลฯ
จะใช้การคำนวนด้วย (1)
วิธีคาร์บอน - 14 (2) วิธีโปแตสเซี่ยม
อาร์กอน
ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ทำให้คาดคะเนกาลเวลาได้ค่อนข้างแม่นยำ
ประการสุดท้าย
ผู้อ่านที่สนใจตัวอย่างวิธีการขุดค้นหาซากดึกดำบรรพ์และการวิเคราะห์คำนวนดังที่เพิ่งกล่าวถึงนี้สามารถไปดูได้จากห้องก่อนประวัติศาสตร์
ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
กรุงเทพมหานคร
และที่พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์
ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยมหิดล
ซึ่งที่ภาควิชานี้
ศาสตราจารย์นายแพทย์สุด
แสงวิเชียร ปฐมาจารย์ทางด้านมานุษยวิทยากายภาพของไทยได้รวบรวมเอกสารและอวัยวะจำลองไว้เพื่อการศึกษามากมาย
นอกจากนี้
ผู้สนใจอาจไปศึกษาได้ที่
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ -
บ้านเชียง
ตั้งอยู่ในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเชียง
อำเภอหนองหาน
จังหวัดอุดรธานี

|