การศึกษาพฤติกรรมของไพรเมตที่มิใช่มนุษย์
(nonhuman primates)
ได้กระทำกันอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การศึกษาเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสภาพธรรมชาติจริง
ๆ
ตัวอย่างที่สำคัญของความพยายามในเรื่องนี้
ได้แก่
นักมานุษยวิทยากายภาพชื่อ
เจน กูดเดลล์ได้ศึกษาพฤติกรรมของลิงในแถบแอฟริกาตะวันออก2 การศึกษาของฟิลลิส ฮอลินาวที่เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของลิงแลงเกอร์ในประเทศอินเดีย
การศึกษาของไดแอน ฟอสซี่เกี่ยวกับลิงกอริลล่าในประเทศแองโกล่า
การศึกษาบิรูเต กอลดิกาส-บรินดามอร์เกี่ยวกับลิงอุรังอุตังในหมู่เกาะบอร์เนียว
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาลิงแบมบูนในแอฟริกาและลิงมาคัสในตอนกลางของประเทศญี่ปุ่น
(รายชื่อผู้ศึกษาทั้งหมดนี้เป็นผู้หญิงทั้งสิ้น)
การศึกษาพฤติกรรมของไพรเมตที่มิใช่มนุษย์
หรือที่เรียกแยกย่อยว่า
วิชาไพรเมตวิทยา (Primatology)
ที่เพิ่งกล่าวถึงนี้
นักมานุษยวิทยากายภาพหญิงมีบทบาทสำคัญยิ่ง
โดยงานของพวกเธอก็คือการออกไปอาศัยอยู่ร่วมกับวานรดังกล่าวเป็นระยะเวลานานจนเกิดความคุ้นเคยระหว่างกัน
จากนั้นก็ศึกษาภาษาพูด
นิสัย
ลักษณะการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
ความสามัคคีและการทะเลาะ
วิวาทกัน
การใช้มือใช้เท้าในการหยิบฉวยสิ่งของ
และการตรวจกลุ่มเลือด
นักมานุษยวิทยาเหล่านี้จะจดบันทึกแล้วนำมาวิเคราะห์ภายหลังที่ใช้เวลาในการศึกษานานนับหลายปี
และมีบางคนที่ใช้เวลานานกว่าค่อนชีวิตในการศึกษาวิจัย
เมื่อนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาพวกไพรเมตที่มีชีวิตอยู่มาเปรียบเทียบกับซากกระดูกของไพรเมตโบราณ
ก็จะทำให้เราเข้าใจถึงโครงสร้างทางร่างกายและพฤติกรรมของพวกไพรเมตอย่างมีเหตุมีผลได้ดียิ่งขึ้น
ส่วนการศึกษากลุ่มไพรเมตในสกุลโฮโมนั้น
มีชื่อเรียกเฉพาะว่า
วิชามนุษย์โบราณวิทยา (Human
Paleotology)
วิชานี้จะทำหน้าที่วิเคราะห์ซากโครงกระดูก
และชิ้นส่วนกระดูกที่ค้นพบ
(fossil remains)
โดยจะทำงานร่วมกับนักโบราณคดี
นักธรณีวิทยา
และนักกายวิภาคศาสตร์ด้วยการออกไปขุดค้นและค้นหาอวัยวะที่หลงเหลือ
(ส่วนใหญ่จะเป็นกระดูก)
ตามส่วนต่าง ๆ
ของโลกเพื่อนำซากเหล่านั้นมาคำนวนอายุ
วัดขนาด
และพยายามสร้างเป็นรูปร่างจำลองเป็นตัวคนขึ้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลำดับขั้นของโฮโมที่พัฒนาเรื่อยมาจนเป็นโฮโม
เซเปียนส์
|