การวิวัฒนาการของมนุษย์
แม้ว่านักมานุษยวิทยากายภาพจะเน้นความสนใจศึกษาหมู่สัตว์ในสายโฮโมเป็นหลักก็ตาม
แต่การที่จะทำความเข้าในเรื่องนี้อย่างละเอียดลึกซึ้งได้นั้น
จำเป็นที่จะต้องมองย้อนไปยังอดีตกาลนับตั้งแต่จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิตครั้งแรกบนโลก
จากนั้น
ต้องมองภาพกว้างทั้งที่เป็นโลกของพืชและโลกของสัตว์เพื่อที่จะสามารถให้คำอธิบายการวิวัฒนาการของมนุษย์ได้อย่างชัดเจน
กล่าวกันว่า
ในเบื้องแรกนั้น
สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นนั้นมีเพียงหนึ่งเซล
ต่อมาก็จะมีเซลมากขึ้น
เป็นพืชและสัตว์น้ำ
สัตว์บก
และก้าวขึ้นมาเป็นกลุ่มสัตว์ที่เรียกว่า
ไพรเมต (primate)
ซึ่งถือกันว่าไพรเมตเป็นจุดเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญเพราะเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีโครงสร้างทางกายภาพแตกต่างไปจากสัตว์ประเภทอื่นทั้งปวง
และกล่าวกันว่าไพรเมตนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นที่จะวิวัฒนาการต่อไปจนเป็นมนุษย์ในที่สุด
ไพรเมตเป็นลำดับ (order
ดูฐานการใช้ชื่อตามวิธีของลินเน่)
เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมมีเลือดอุ่นจำพวกมีกระดูกสันหลัง
สัตว์ในลำดับนี้มีตั้งแต่ลำดับต่ำสุด
เช่น ลิงเลมูร์ ลิงทาร์เซีย
ลำดับสูง ได้แก่ ลิง ค่าง
ชะนี ไปจนถึงชิมเปนซี กอร์ริลล่า
อุรังอุตังหรือที่เรียกว่าวานรต่อมาก็วิวัฒนาการเป็นมนุษย์โบราณ
และลำดับสุดท้ายได้แก่
โฮโม เซเปียนส์
หรือมนุษย์ในปัจจุบัน
ดังนั้น
ความสนใจของนักมานุษยวิทยาจึงพุ่งไปยังการศึกษาสัตว์ในกลุ่มไพรเมตอย่างละเอียดเพื่อสืบหาสายใยของการวิวัฒนาการจากลำดับต่ำสุดไปถึงลำดับสูงสุด
อย่างไรก็ตามความจำเป็นที่จะต้องมองภาพโลกของพืชและโลกของสัตว์ก็คงมีอยู่
ทั้งนี้ก็เพื่อจะชี้ชัดถึงตำแหน่งของพวกไพรเมตว่าอยู่ตรงไหนของสัตว์โลกทั้งมวล
|