ดังนั้น
ในหัวข้อนี้จึงมีการค้นหาคำตอบด้วยการศึกษาลักษณะความแตกต่างของมนุษย์ในแง่สีผิว
รูปพรรณสันฐาน
โครงสร้างทางร่างกาย
กลุ่มเลือด
และการปรับตัวทางร่างกายต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
เพื่อหาคำอธิบายว่าความแตกต่างเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างไร
เนื้อหาสาระในเรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความรู้สาขาชีววิทยา
และวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติหลายสาขา
รวมทั้งวิชาที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางชีวภาพ
สิ่งแวดล้อม
และวัฒนธรรมในแต่ละยุคแต่ละสมัย
เนื้อหาสาระดังกล่าวจำเป็นต้องมีการค้นคว้า
ทดลองในห้องปฏิบัติการ
และศึกษาเปรียบเทียบ
ดังนั้น
จึงมีการแยกองค์ความรู้กลุ่มนี้ออกเป็นสาขาหนึ่งเรียกว่า
มานุษยวิทยากายภาพ (Physical
Anthropology)
หรือมานุษยวิทยาเชิงชีววิทยา
(Biological Anthropology)
2.
การศึกษาผลงานที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์
เนื้อหาสาระของกลุ่มที่สองนี้ก็คือ
วิชามานุษยวิทยาศึกษาผลงานอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์
หมายถึง การศึกษา "สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น"
ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นผลผลิตรูปธรรมและผลงานทางนามธรรม
ตัวอย่างผลงานที่เป็นรูปธรรม
ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ พัดลม
ตึก สวนสาธารณะ รถยนต์ ฯลฯ
และตัวอย่างผลงานที่เป็นนามธรรม
ได้แก่
รูปแบบหรือระบบการอยู่รวมกันเป็นสังคม
ศาสนา ค่านิยม ความเชื่อ
การปกครองแบบประชาธิปไตย
ความดี และ ความเลว เป็นต้น
ทุกสิ่งที่กล่าวถึงนี้เป็น
"ผลงาน"
ที่มนุษย์สร้างและผลิตขึ้น
ตลอดจนแต่งเติมเสริมต่อสิ่งที่เป็นธรรมชาติ
เพื่อนำมาใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์
เราเรียกสิ่งที่มนุษย์คิดค้นและทำขึ้นนี้ว่า
วัฒนธรรม (culture)
ดังที่กล่าวแล้วในตอนต้นว่า
ความสนใจศึกษาวัฒนธรรมมีมานาน
ต่อมา
เมื่อได้มีการจัดระเบียบความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมให้เป็นระบบเพื่อสร้างองค์ความรู้
หรือศาสตร์สาขานี้ขึ้นในยุโรปและแพร่หลายไปยังสหรัฐอเมริกาในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่
19
ความรู้สาขานี้จึงได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิชาการชาวอเมริกัน
จึงได้เรียกองค์ความรู้ในสาขานี้ว่า
มานุษยวิทยาวัฒนธรรม (Cultural
Anthropology)
|