ด้วยสาเหตุเรื่องการแต่งงานนี้เอง
ที่เป็นจุดเริ่มต้นโดยครอบครัวของฝ่ายชายที่จะเฝ้าดูว่าผู้หญิงคนไหนที่ขยันทำงานบ้าน
ดังนั้น
เด็กหญิงจึงประสบกับแรงกดดัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างขนบธรรมเนียมเดิมที่ยังหลงเหลืออยู่จากโลกแห่งวัฒนธรรมเขมร
กับสภาพความเป็นจริงที่ปฏิบัติกันในสหรัฐอเมริกา
เช่น
หากเด็กหนุ่มสาวไปเที่ยวกันตามลำพังก็จะถูกคนในชุมชนซุบซิบนินทาว่าแอบไปมีสัมพันธ์เชิงชู้สาว
ผลที่ตามมาก็คือ
การเสียชื่อเสียงและสูญเสียหน้าของครอบครัวไป
เด็กสาวที่ถูกนินทาก็จะเกิดปัญหายุ่งยากในการหาคู่แต่งงาน
ทำให้ค่าสินสอดลดต่ำลงหรือไม่ได้รับค่าสินสอดเลย
การเสียหน้าจึงเป็นการสูญเสียสัญลักษณ์ทางต้นทุน
(symbolic capital) ไป
พฤติกรรมของเด็กสาวชาวเขมรในสหรัฐฯ
จึงเป็นที่มาของความตึงเครียดด้วยการถูกเพ่งเล็งว่าเธอจะเป็นคนดีของสังคมหรือไม่
ในขณะที่เหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นกับเด็กหนุ่ม
พ่อแม่ชาวเขมรจะลงโทษลูกด้วยการเฆียนตีหากประพฤติผิด
แต่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ศาลของสหรัฐฯ
จะปกป้องการลงโทษเด็กด้วยวิธีการรุนแรง
สิ่งนี้ทำให้พ่อแม่ชาวเขมรเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กประพฤติผิดมากขึ้น
เด็กสาวชาวเขมรในสหรัฐฯ
มีแนวโน้มแต่งงานในขณะที่มีอายุต่ำกว่าผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้เป็นเพราะการซุบซิบนินทาถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กสาว
เป็นเหตุให้พ่อแม่รีบจับลูกแต่งงานก่อนที่การเสียหน้าเสียชื่อเสียงจะเกิดขึ้น
จากข้อมูลเกี่ยวกับชีวประวัติ
(life-historical)
และวัฒนธรรมทางชาติพันธุ์วรรณา
(ethnographic)
นี้เองที่ชี้ให้เห็นว่าเด็กผู้หญิงชาวเขมรในสหรัฐฯ
จำนวนมากที่ออกจากโรงเรียนก่อนจบการศึกษา
บทบาทของวัฒนธรรมและสถาบันครอบครัวมีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชาวเขมร
อีกทั้งสภาพนิเวศทางวัฒนธรรม
(culturally ecological)
ก็เป็นตัวกำหนดรูปแบบทัศนคติเกี่ยวกับการศึกษาของชาวเขมรด้วย
อย่างไรก็ตาม
ในบริบทของสังคมสหรัฐอเมริกา
มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างค่านิยมใหม่แก่ชาวเขมร
และจะยังผลให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตและความประพฤติของผู้อพยพกลุ่มนี้อีกด้วย
แม้ว่าอาจต้องใช้เวลาบ้างก็ตาม
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการวิจัยทั้งหมด
|