(1)
มีการเพิ่มทักษะและสร้างหลักสูตร
(skills and curricula) ใหม่ ๆ
เพื่อสอนเนื้อหาและฝึกฝนการวิจัยในงานอาชีพหลาย
ๆ ประเภท
โดยใช้ความรู้พื้นฐานและระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยาควบคู่กันไปด้วย
(2)
มีการฝึกงานและปฏิบัติการ
(internships and practices)
ในสนามและในงานอาชีพสาขาอื่น
ๆ เช่น งานราชการ การตลาด
การโฆษณา และการพัฒนา
เป็นต้น
(3)
เปิดสอนในระดับชั้นปริญญาโท
โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้รอบรู้ทั่วไป
(generalist)
เพื่อเป็นการเตรียมคนให้เหมาะสมกับอาชีพทุกสาขา
ในขณะที่การสอนในชั้นปริญญาเอกจะเน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะในสาขามานุษยวิทยาจริง
ๆ
(4)
โครงการฝึกอบรมเพื่ออนาคต
(training programs for the future)
ด้วยการกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาทิศทางในการประกอบอาชีพในอนาคตและช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดกับผู้เรียนคนอื่นในการสร้างงานใหม่
ๆ
แก่คนที่ศึกษาวิชาเดียวกัน(17)
จะเห็นได้ว่า
ขอบเขตของการศึกษาวิชามานุษยวิทยาในปัจจุบันได้ขยายตัวและพัฒนางานอาชีพออกไปอย่างกว้างขวาง
อันเป็นการเปลี่ยนภาพพจน์เดิมจากการมุ่งศึกษาเฉพาะคนและสังคมวัฒนธรรมของชนเผ่าดั้งเดิม
(ชาวเกาะ ชาวเขา)
มาเป็นผู้สร้าง ผู้กระทำ
และเป็นผู้นำสร้างสรรค์โลกยุคใหม่ให้เจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับการยึดตัวแปรหลัก...คนและสังคมวัฒนธรรม..
เป็นฐานในการแสวงหาข้อความจริงและนำความรู้ไปใช้กับมนุษย์และสังคมต่อไป
|