การหาข้อมูลเสริมการค้านั้น
ผู้ศึกษาต้องเรียนรู้ถึงลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
สังคม
วัฒนธรรมและการเมืองของประเทศเป้าหมายอย่างละเอียดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
รวมทั้งมีการติดตามข่าวสารข้อมูลที่แปรเปลี่ยนไปทุกเมื่อเชื่อวัน
นอกจากนี้
ผู้เรียนยังต้องศึกษาภาษาที่ประเทศนั้นใช้สื่อสารจนสามารถโต้ตอบได้เป็นอย่างดี
อาจกล่าวอย่างสั้น ๆ ว่า
ผู้เรียนจะต้องฝึกฝนอย่างหนักในทุกด้านเกี่ยวกับความรอบรู้ทางตลาดในประเทศใดประเทศหนึ่งหรือกลุ่มประเทศที่ตนศึกษา
รวมทั้งวัฒนธรรม ประชาชน
โครงสร้างสังคม
และลักษณะการดำเนินธุรกิจของประเทศนั้น
ๆ อย่างลึกซึ้ง
ข้อมูลมหึมาดั่งนี้จะเสาะแสวงหาได้อย่างไร
และจะต้องใช้ทรัพยากรมากมายเพียงใดในการลงทุน
คำถามนี้อาจตอบได้ว่า
งานนี้เป็นงานหลักที่จะช่วยให้พลเมืองของประเทศได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวกิจการต่างประเทศ
และทันโลกเป็นอย่างดี
อีกทั้งเป็นการเตรียมผู้ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานให้มีความรู้ความชำนาญในเรื่องการตลาดต่างประเทศและภาวะเศรษฐกิจโลก
ดังนั้น
รัฐจึงจำเป็นต้องลงทุนในระยะต้นก่อน
เมื่อการดำเนินงานได้ผลบ้างแล้ว
เอกชนก็จะช่วยเกื้อหนุนต่อไป
อนึ่ง ปัจจุบัน
รัฐก็ได้ลงทุนเพื่อการศึกษาอยู่แล้ว
เราอาจใช้ทรัพยากรที่มีอยู่โดยแบ่งงานกันทำ
เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอาจเน้นศึกษา
2-3 ประเทศหรือกลุ่มประเทศ (กลุ่มเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
กลุ่มอเมริกาเหนือ
และกลุ่มออสเตรเลียนิวซีแลนด์)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เน้นกลุ่มเอเซียตะวันออกไกลและกลุ่มลาตินอเมริกา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เน้นกลุ่มแอฟริกาเหนือและกลุ่มตะวันออกกลาง
มหาวิทยาลัยรามคำแหงเน้นกลุ่มยุโรปตะวันออก
เป็นต้น
ในแต่ละภาควิชาจะมีครู-อาจารย์ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในสังคมนั้น
ๆ อนึ่ง
รัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่ภาควิชาเพื่อซื้อหนังสือ
วารสาร หนังสือพิมพ์
และอุปกรณ์การสอน
รวมทั้งให้ทุนแก่นักศึกษาและอาจารย์ไปทำวิจัยในประเทศเป้าหมายอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ
|