1.
เอ็ดเวอร์ด ไทเลอร์
(Edward B. Tylor)
ไทเลอร์เป็นชาวอังกฤษ
มีผลงานการเขียนและงานค้นคว้าวิจัยในทางมานุษยวิทยา
วัฒนธรรมมากมาย
หนังสือที่เขาเขียนชื่อ
Primitive Culture (คศ. 1871)
ถือได้ว่าเป็นความพยายามในการศึกษาเรื่อง
"วัฒนธรรม"
ของมนุษย์ที่เป็นระบบและมีความสมบูรณ์ที่สุดเล่มแรกของโลกที่เดียว
ไทเลอร์ได้ให้ความเห็นว่า
วัฒนธรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในสังคมต่างภูมิภาคของโลกนั้น
เป็นผลมาจากภาวะจิตใจของมนุษยชาติที่ได้ตอบสนองต่อปัญหาในการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน
ดังนั้น
สังคมแต่ละแห่งจึงสร้างวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันขึ้นมา
ในขณะเดียวกัน
เขายังได้อธิบายต่อไปอีกว่า
สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งของความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรม
ก็คือ
การแพร่กระจายทางวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปยังสังคมอีกแห่งหนึ่ง
ดังเช่น ปิระมิดของชาวอียิปต์โบราณจะมีรูปลักษณะคล้ายคลึงกับปิระมิดของชาวอินเดียนแดงพื้นเมืองเผ่าแอซเทค
(Aztec) ในทวีปอเมริกาใต้
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการนำเอารูปแบบและวิธีการสร้างไปจากอียิปต์นั่นเอง
อนึ่ง การทอผ้า
และการเพาะปลูกก็เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นและได้รับการพัฒนาในอียิปต์โบราณก่อน
จากนั้น
ก็กระจายไปยังทุกส่วนของโลก
จากแนวความคิดหรือทฤษฎีเรื่อง
"การสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน"
และ"การกระจายทางวัฒนธรรม"
ได้รับความสนใจจากนักมานุษยวิทยารุ่นต่อมาเพื่อพิสูจน์สมมติฐานของทฤษฎีดังกล่าวอย่างกว้างขวาง
2.
ฟรานซ์ โบแอส
(Franz Boas)
โบแอสเกิดและได้รับการศึกษาในประเทศเยอรมัน
จากนั้นเขาไปทำวิจัยสนามโดยเข้าไปอาศัยอยู่ร่วมกับชาวเอสกิโมระหว่างปี
ค.ศ.1883-1884
เพื่อพิสูจน์แนวความคิดที่ว่า
"สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนในสังคมจริงหรือไม่"
ณ ที่นั้น เขากลับพบว่า
จริงอยู่ที่สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่ชาวเอสกิโมอาศัยอยู่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างวัฒนธรรมขึ้น
แต่สภาพแวดล้อมมิได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่กำหนดพฤติกรรมของพวกเขา
ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยอื่น
เช่น
ปัจจัยด้านกฎเกณฑ์ทางประเพณีและประวัติศาสตร์ที่บรรพบุรุษได้สร้างสมมานาน
และปัจจัยด้านการติดต่อกับผู้คนที่มาจากภายนอกหรือจากชุมชนอื่น
ได้ส่งผลให้เกิดการหล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของชาวเอสกิโมเผ่าที่เขากำลังศึกษาซึ่งจะเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะแปลกแตกต่างไปจากวัฒนธรรมของคนกลุ่มอื่น
|