รูปกราฟฟิกและพลาสติกล้วนทำกันเพื่อความเจริญตาเจริญใจแก่ผู้พบเห็น
ศิลปกรรมเหล่านี้มีส่วนสำคัญที่จะบ่งบอกและแสดงถึงสถานภาพของผู้เป็นเจ้าของ
ดังเช่นมงกุฏเป็นของกษัตริย์
งานปั้นมักนำเอาบุคคลที่มีชื่อเสียงมาปั้น
สิ่งของบางอย่างแสดงถึงเผ่าพันธุ์และความเป็นสมาชิกของคนในกลุ่มสังคมนั้น
ๆ อนึ่ง
งานศิลปกรรมเป็นงานที่ผู้ชำนัญพิเศษทำ
ซึ่งเขาอาจมีสถานภาพสูงในสังคม
ส่วนการถ่ายทอดความรู้เป็นไปในเชิงการส่งผ่านทางสายเครือญาติหรือการฝึกงานแบบต้องยอมรับใช้การงานให้แก่ครูเพื่อให้ได้รับความรู้มา
2.ศิลปะทางด้านภาษา
ศิลปะทางด้านนี้บางทีมีผู้ใช้ศัพท์ว่า
นิทานหรือนิยาย (Folklore)
ในสังคมสมัยใหม่
นิทานหรือนิยายดังกล่าวอาจไม่ได้รับความนิยมนักเพระมีภาษาเขียนแล้ว
อย่างไรก็ตามเราก็คงจะเคยได้ยินคนเขา
"เล่าว่า"
มีอภินิหารหรือประวัติเกี่ยวกับสิ่งต่าง
ๆ จากปากต่อปากกันมา
และการร้องเพลงพื้นเมือง (folksong)
ก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย
ซึ่งก็จัดได้ว่าเป็นศิลปะประเภทนี้เช่นกัน
ศิลปะประเภทนี้พอจะแบ่งออกได้คือ
ก.
นิยายปรัมปรา (myths)
เป็นเรื่องเล่าประเภทพรรณาความซึ่งบรรยายถึงเรื่องราวในอดีตกาลนับตั้งแต่แรกเริ่มหรือบางครั้งก่อนกำเนิดของโลกจนมาถึงที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เรื่องราวมักจะอ้างถึงพระเจ้าหรือบรรพบุรุษ
หรืออัศวินที่กระทำกิจกรรมพิเศษต่อโลก
และต่อสังคม
ตลอดจนบรรยายถึงลักษณะที่เป็นบุคลิกภาพพิเศษของบุคคลคนนั้น
บางครั้งนิยายปรัมปรากลายเป็นสัญลักษณ์และเป็นค่านิยมพื้นฐานของคนในปัจจุบันของสังคมนั้นด้วย
ข.
พงศาวดาร (legends)
เป็นเรื่องราวของบุคคลและสังคมซึ่งมีเนื้อหาสาระทางประวัติศาสตร์แฝงอยู่มาก
ค.
นิทานชาวบ้าน (folktales)
เป็นเรื่องเล่าบรรยายถึงลักษณะของสัตว์หรือบุคคลประเภทพิเศษ
ซึ่งเล่าเพื่อให้เกิดความบันเทิง
บางครั้งเป็นการให้การศึกษาแก่อนุชนและคนทั่วไปด้วย
เพราะเป็นเรื่องราวที่ทำให้พลังทางจิตใจเกิดขึ้นและแฝงไว้ด้วยศีลธรรมจรรยา
|