ศาสนากับการอยู่ร่วมกันในสังคม
ในสังคมที่ปราศจากกฎหมาย
ศาสนาจะทำหน้าที่กำหนดวิถีการดำเนินชีวิตที่ทำให้คนประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความเป็นสุข
ศาสนาได้กำหนดข้อห้ามในการประพฤติชั่ว
ให้หลีกเลี่ยงอบายมุข
และให้ประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ต่อมาเมื่อมีการตรากฎหมายขึ้น
ข้อกฎหมายก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของลัทธิความเชื่อและประเพณีต่าง
ๆ ที่มีอยู่ในสังคมนั้น ๆ
เช่นกัน
ในการรวมกลุ่มของคน
นอกเหนือจากการใช้ความสัมพันธ์ด้านอื่นแล้ว
การรวมกลุ่มทางด้านศาสนาจะเป็นการรวมแบบสมัครใจ
หากเราจำเป็นต้องเข้ารวมกลุ่มด้วยการบังคับ
(จำยอม)
ก็ไม่อาจอยู่ในสังคมนั้นได้อย่างมีความสุข
ดังนั้น
ศาสนาจึงทำหน้าที่สำคัญที่ทำให้คนเป็นสมาชิกของสังคมด้วยความเต็มใจและสร้างความสุขใจ
ศาสนายังได้กำหนดค่านิยมแก่คนในสังคม
และให้แนวทางในการทำหรือไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิต
เช่น
เกิดมาเป็นชายชาติหนึ่งต้องบวชเรียนสักครั้ง
หรือให้คนเกิดความตั้งใจในการประกอบธุรกิจการงานให้บรรลุผลสำเร็จ
ในขณะเดียวกัน
ศาสนาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญที่อบรมสั่งสอนให้แก่คนรุ่นหลังทั้งทางตรงและทางอ้อม
คนบางคนนับถือศาสนาโดยผ่านมาทางบรรพบุรุษทั้ง
ๆ
ที่อาจไม่มีความเชื่อในคำสอนหรืออภินิหารในศาสนาที่ตนสังกัดอยู่เลย
นักมานุษยวิทยามักกล่าวว่าลักษณะเช่นนี้เป็นการรับเอาศาสนาโดยทางจิตใต้สำนึก
|