บทที่11  ครอบครัวและเครือญาติ  >> หน้า 14


                (2) การทำงานหรือการให้บริการทดแทน (bride-service) วิธีการนี้เป็นเสมือนกับประเภทแรก แต่สิ่งที่มอบให้เป็นการทำงาน เช่น ไปทำงานให้กับครอบครัวของฝ่ายหญิงเป็นระยะเวลาหนึ่ง ดังเช่นตัวอย่างเรื่อง เขยขวัญสะใภ้แก้ว เป็นต้น

                (3) การมอบสินสอดให้แก่ฝ่ายชาย (dowry) ในสังคมบางสังคม เช่น สังคมอินเดีย ฝ่ายหญิงจะต้องเป็นฝ่ายให้สินสอดแก่ฝ่ายชาย โดยพ่อแม่ของฝ่ายชายจะประกาศในหนังสือพิมพ์เพื่อหาหญิงสาวแต่งงานกับลูกชายพร้อมทั้งกำหนดสินสอดทองหมั้นไว้ด้วย

                (4) การแลกเปลี่ยนหรือให้น้องสาวเป็นการแลกเปลี่ยน (gift exchange/sister-exchange) สังคมบางสังคม หากการแต่งงานจะเกิดขึ้นจะต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยน เช่น ถ้าจะเอาลูกสาวไป ก็ต้องส่งลูกสาวของอีกฝ่ายหนึ่งมาแต่งงานกับลูกชายของฝ่ายตน เป็นต้น

                (5)ไม่มีสินสอดทองหมั้นเลย ในบางสังคมก็ไม่มีประเพณีการให้สินสอดทองหมั้นเลยเมื่อถึงเวลาแต่งงาน ก็แต่งกันเลย

 

เครือญาติและวงศ์วาน (kinship)

                ความสำคัญของสายเครือญาติจะมีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม ทั้งนี้ เพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้น ความเป็นญาติย่อมมีบทบาทในด้านความรักการช่วยเหลือ การไปมาหาสู่ เพื่อไต่ถามทุกข์สุขต่อกัน รวมทั้งผูกพันทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม 

                เครือญาติอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.  ญาติโดยสายโลหิต (consanguinity)

                ได้แก่พี่น้องที่เกิดมาจากท้องพ่อแม่เดียวกัน ทั้งที่เป็นสายทางฝ่ายพ่อ และสายทางฝ่ายแม่ รวมทั้งลูกหลานที่เกิดตามมา ดูตัวอย่างดังต่อไปนี้