บทที่9  ระบบเศรษฐกิจเทคโนโลยีและสภาพนิเวศ  >> หน้า 20

ความส่งท้าย

                 สภาพนิเวศ ระบบเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีมีความเกี่ยวกันกันอย่างใกล้ชิด และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคนว่าจะทำมาหากินในอาชีพอะไร ดังนั้น หน้าที่ของนักมานุษยวิทยา ก็คือ การออกไปบันทึกและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้งสาม โดยพยายามตอบคำถามว่า เทคโนโลยีพื้นบ้านที่สั่งสมกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษมีลักษณะอย่างไรที่ทำให้สังคมนั้น ๆ สามารถ ธำรงอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้ และเปรียบเทียบกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ฮอร์โมนเร่งผลผลิต และเครื่องจักรกล ซึ่งมักก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างใหญ่หลวงและกลายเป็นปัญหาของโลกในปัจจุบัน

                 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของภาวะวิกฤตทางด้านนิเวศที่เกิดขึ้นตามแถบเส้นศูนย์สูตรในเรื่องการเกษตรนั้น เป็นเพราะบริเวณแถบนี้ของโลกเป็นเขตร้อนและมีหน้าดินบาง คิดถัวเฉลี่ยไม่เกิน 2 ฟุต หน้าดินเหล่านี้เป็นดินร่วนที่เกิดจากการทับถมของสารอินทรีย์ ซากกิ่งไม้ใบหญ้า และสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยเป็นระยะเวลานานนับร้อยนับพันปี หน้าดินเหล่านี้เป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดเพราะเป็นแหล่งรวมของแร่ธาตุ น้ำและสารอาหารที่พืชต้องการ ชาวเอเชียต่างมีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับแผ่นดิน ซึ่งมีวัฒนธรรมการเพาะปลูกมาแล้วกว่า 9,000 ปี โดยถือได้ว่าเป็นแบบฉบับของการปรับแต่งระบบนิเวศจากธรรมชาติมาเป็นระบบที่คนใช้เป็นที่ทำกินที่ยั่งยืนมานานแสนนาน

                 ชาวเอเชียได้สร้างความสัมพันธ์แบบสมานฉันท์กับที่ทำกินของพวกเขา กล่าวคือ เมื่อคนได้รับประโยชน์จากการใช้ที่ดินแล้ว ก็จะทำการปรับปรุงดินให้ดีขึ้นเพื่อมิให้ถูกทำลายได้โดยง่าย จะไม่มีการจงใจทำลายล้างหน้าดินเพื่อผลประโยชน์ในระยะสั้น รวมทั้งปล่อยให้ดินพักฟื้นตัวเป็นระยะเวลาหนึ่งนานพอที่จะให้ความอุดมสมบูรณ์กลับคืนก่อนที่จะเพาะปลูกในฤดูกาลใหม่ ความสมานฉันท์ดังกล่าวได้ปรากฏออกมาในรูปของการเพาะปลูกพืชหมุนเวียน และปลูกพืชหลาย ๆ ชนิดบนบริเวณเนื้อที่เดียวกัน การปลูกพืชหมุนเวียนและการทำคันนากั้นน้ำตามเทือกสวนไร่นาเพื่อกันการชะล้างหน้าดิน อีกทั้งใช้ผานไม้ในการไถนาเป็นวิธีการหนึ่งในหลาย ๆ วิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย(14)

                 การปฏิวัติทางการเกษตร (green revolution) เพื่อเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกพืชชนิดเดียวบนพื้นที่สุดลูกหูลูกตา เช่น ไร่สับปะรด มันสำปะหลัง อ้อย ฯลฯ การใช้ปุ๋ยเคมีและสารฆ่าแมลง ทำให้ดินเสื่อมเร็วและเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุ์

                 นักมานุษยวิทยาต่างให้ความสนใจกับระบบเศรษฐกิจ และการทำมาหากินของคนในแต่ละสังคม และสังคมแต่ละประเภทเพื่อเรียนรู้ว่า ในขณะที่ทำการศึกษาอยู่นั้น แบบแผนการทำมาหากินของสมาชิกสังคมเป็นอย่างไร คำถามที่มักจะใช้ในการตอบคำถามเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางนี้ ความรู้ที่นักมานุษยวิทยาได้รับจากการรักษาแบบแผนการใช้ที่ดินและการเพาะปลูกแบบพื้นบ้าน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่าแก่ได้รับการพัฒนามานานนับหลายร้อยหลายพันปีที่ทำให้ดินคงสภาพความสมบูรณ์แบบยั่งยืน แม้จะให้ผลผลิตไม่สูงนักก็ตาม จึงเป็นประเด็นสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรในยุคปัจจุบันและอนาคต