บทที่9
ระบบเศรษฐกิจเทคโนโลยีและสภาพนิเวศ
>> หน้า
19
|
|
4.
ชาวนาในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี นครนายก
อ่างทอง
และสิงห์บุรีจะเลี้ยงไก่
โดยเลี้ยงเป็นเล้าขนาดใหญ่ราว
2,000 - 3,000 ตัวต่อหนึ่งเล้า
พวกเขาจะทำสัญญากับบริษัทอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่ตามเงื่อนไขที่ว่า
บริษัทจะขายลูกไก่
อาหารสัตว์
และส่งสัตวแพทย์สัตวบาลออกไปดูแลตลอดระยะเวลาที่เลี้ยง
คือ 48 วัน
จากนั้นบริษัทจะรับซื้อไก่โตในราคาประกันทั้งหมด
ชาวนาประเภทนี้มีชื่อเรียกว่า
ผู้เลี้ยงไก่ประกัน (contact farmers)
การเลี้ยงไก่แบบนี้ต้องใช้เทคนิคการเลี้ยงชั้นสูงเพราะต้องมีการวิจัยคัดเลือกสายพันธุ์โตเร็วและผลิตอาหารไก่ที่ให้คุณค่าทางอาหารสูง
ตลอดจนต้องเอาใจใส่ดูแลและฉีดยารักษาโรค
รวมทั้งทำความสะอาดเล้าไก่สม่ำเสมอ
จึงจะให้ผลผลิตสูงตามที่ต้องการ
ปัจจุบัน
วิธีการเกษตรกรรมที่มีการทำสัญญากับบริษัทขนาดใหญ่อย่างนี้ได้ขยายกว้างออกไปครอบคลุมการเกษตรหลายแขนงและตามท้องที่ต่าง
ๆ ทั่วประเทศ เช่น
การเลี้ยงเป็ด สุกร
และการปลูกพืชเศรษฐกิจ
ได้แก่ ยาสูบ ยูคาลิบตัส
เป็นต้น
ทำให้การเกษตรของไทยพัฒนาก้าวหน้าไปไกลอันเป็นผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์การเกษตร
คือ การผสมข้ามสายพันธุ์
การเพาะกล้าด้วยเนื้อเยื่อ
การผลิตอาหารสัตว์
และการผลิตปุ๋ยสูตรพิเศษ
เพื่อนำมาช่วยในการผลิตและลดระยะเวลาในการผลิตให้สั้นลง
รวมทั้งให้ได้รับผลผลิตสูงสุดด้วย
นอกจากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วนี้
ยังมีประดิษฐกรรมอื่น ๆ
เช่น เครื่องปั้นดินเผา
เครื่องเงินเครื่องเขิน
การสานตระกล้า
การแกะสลักไม้ งานโลหะ
และการแกะสลักหิน
รวมทั้งงานด้านอุตสาหกรรมอื่น
ๆ อีกมาก
งานเหล่านี้มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของแต่ละชุมชน
และมีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่สร้างสมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษบวกกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
ทำให้ได้รับผลผลิตจำนวนมากเพียงพอกับความต้องการภายในสังคมและส่งออกไปขายที่อื่น
นักมานุษยวิทยาให้ความสำคัญและพยายามค้นหารายละเอียดเพื่อบันทึก"เทคโนโลยี"
เหล่านี้และวิเคราะห์ดูว่ามีความสัมพันธ์อย่างไรกับแบบแผนการดำรงชีวิตของคนในแต่ละสังคม(13)
|
|