บทที่9
ระบบเศรษฐกิจเทคโนโลยีและสภาพนิเวศ
>> หน้า
5
|
|
พวกเอสกิโมเผ่าชิเปวายานและคาริบู
(Chipewayan and Caribou Eskimo)
ซึ่งอาศัยอยู่ในแถบขั้วโลกเหนือนั้น
พื้นที่ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้เลย
การหาพืชผักผลไม้ก็อาจทำได้เฉพาะฤดูร้อนซึ่งมีเพียงไม่กี่เดือนในรอบหนึ่งปี
ดังนั้น
จึงต้องเก็บสะสมอาหารโดยเฉพาะเนื้อสัตว์
เช่น เนื้อควายป่า หมี นก
กวางมูชและอีเห็น
ไว้รับประทานทีละเล็กละน้อยในยามที่ขาดแคลนจริง
ๆ
ชาวเอสกิโมพวกนี้มีเทคนิคในการล่าสัตว์โดยพยายามจะไม่ทำลายสัตว์ดังกล่าวทั้งฝูง
หากเขาฆ่าสัตว์ทุกตัวก็เท่ากับเป็นการทำลายอาหารของเผ่าทั้งหมด
ชาวอินเดียนแดงที่อาศัยอยู่แถบตอนกลางและตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียนั้น
ในระยะที่ยังไม่ได้มีการติดต่อกับพวกผิวขาว
พวกเขาแสวงหาอาหารเพื่อการยังชีพโดยการนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในสังคมมาใช้รับประทาน
ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพืช
หัวเผือก หัวมัน ลูกแบรี่
และปลา
ตัวอย่างที่ยกมานี้แสดงให้เห็นว่าคนและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติมีความเกี่ยวข้องกันมากในสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยี่ระดับต่ำ
คนต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ
ดังนั้น
ทำให้นักมานุษยวิทยาที่ศึกษาวิจัยสามารถเข้าใจลักษณะของการสร้างวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานของมนุษย์และสามารถนำมาเปรียบเทียบกับสังคมปัจจุบันที่เราอาศัยอยู่
ซึ่งจะเป็นหนทางที่ทำให้เราสามารถเข้าใจโครงสร้างของวัฒนธรรมประเภทนี้ได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม
ผู้อ่านจะต้องไม่รีบสรุปลงไปว่าสังคมดั้งเดิมทุกสังคมมีลักษณะเหมือนกันที่คนในสังคมมีชีวิตอยู่แบบยากจนข้นแค้นและลำบากในการหาอาหารเพื่อยังชีพ
สำหรับสังคมที่ยกมากล่าวนี้เป็นเพียงตัวอย่างกรณีที่มีลักษณะที่พิเศษเพื่อเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาอาศัยสภาวะแวดล้อมและธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อวิถีทางการดำเนินชีวิต
ส่วนสังคมดั้งเดิมในแถบบริเวณอื่นนั้น
การประกอบกิจกรรมทำมาหาเลี้ยงชีพอาจไม่ลำบากและทรัพยากรทางธรรมชาติก็อาจมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์
แต่เนื่องจากคนเหล่านั้นยังไม่ใช้เทคโนโลยี่ในการผลิตระดับสูง
คนจึงต้องดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติมาก
ตามปกติแล้ว
นักมานุษยวิทยาจะไม่ลงความเห็นกันว่าสังคมที่มีการใช้เทคโนโลยี่ในระดับสูงนั้นจะต้องมีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม
"ที่ดีกว่า"
คนที่อยู่ในสังคมดั้งเดิม
แม้ว่าจะมีสหสัมพันธ์ตรงระหว่างระดับของการใช้เทคโนโลยี่กับระดับของความเจริญหรืออารยธรรมก็ตาม
ทั้งนี้ก็เพราะการจัดระดับของอารยธรรมนั้นเป็นการใช้ค่านิยมและอารมณ์เป็นพื้นฐาน
|