(7) ความหนาแน่น
(intensity)
หมายถึงระดับที่ปัจเจกบุคคลจะเชิดชูความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลคนนั้นมากน้อยแค่ไหน
หากเป็นผู้ที่รักและผู้ที่เคารพนับถือ
ระดับความสัมพันธ์ก็จะมีอยู่อย่างแน่นแฟ้น ในทางตรงกันข้าม
หากเป็นคนที่มีความสำคัญน้อยต่อผู้แสดง
หรืออยู่ห่างไกล
ระดับของความสัมพันธ์ก็จะต่ำ
(8) ความถี่
(frequency)
หมายถึงจำนวนครั้งของการติดต่อที่ผู้แสดงกระทำต่อบุคคลอื่น
ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการติดต่อ
(9) ความยืนยาว
(durability)
การติดต่อสัมพันธ์กับบางคนอาจยืนยาวตามข้อผูกพันและสิทธิหน้าที่
(obligation and rights) เช่น
ผู้แสดงจะมีความสัมพันธ์ยืนยาวกับพ่อแม่
พี่น้อง
ในขณะที่ติดต่อกับบางคนเพียงครั้งเดียว
เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้วก็เลิกการติดต่อ
ตัวอย่างการนำแนวคิดนี้ไปศึกษา
ได้แก่
การศึกษาของแอดเดรียน แมยร์
(Adrian Mayer)
แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนที่ทำการศึกษาการเลือกตั้งที่อำเภอเดวาส
ประเทศอินเดีย
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
การเลือกตั้งที่อำเภอเดวาส
ในปี คศ.1961 อำเภอเดวาสแห่งรัฐมัดยาปราเดสของประเทศอินเดีย
มีจำนวนพลเมือง 446,901 คน
อำเภอนี้ตั้งอยู่ห่างจากเมืองหลวงของรัฐไปทางทิศตะวันตก
75 ไมล์
บางส่วนของอำเภอนี้มีความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก
พืชสำคัญที่นำรายได้ให้คือ
ฝ้าย และข้าววีท
อำเภอนี้มีเมืองซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอชื่อเมืองเดวาส
ซึ่งมีจำนวนพลเมือง 34,577 คน
เมืองเดวาสมีสภาเทศบาลซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เป็นอิสระในการกระทำกิจกรรมต่อประชาชนในเขตนั้น
การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนั้นกระทำกันในระบบประชาธิปไตย
ชุมชนนี้ได้มีการเลือกตั้ง
3 ครั้ง
แต่ผู้วิจัยจะนำเอาการเลือกตั้งครั้งหลังสุดซึ่งกระทำขึ้นในเดือนเมษายน
คศ. 1961 มาศึกษาวิเคราะห์
|