บทที่ 7 ความแตกต่างระหว่างมนุษย์ปัจจุบัน  >> หน้า 6


                ข.  มนุษย์ชาติพันธุ์ผิวเหลือง  ผิวเนื้อของพวกนี้จะมีสีเหลืองไปจนถึงคล้ำ ใบหน้าแบนกว้าง  ดวงตาดำ  บ้างก็มีตาสองชั้นบ้างก็ชั้นเดียว  กลุ่มย่อยของพวกผิวเหลือง  ได้แก่

                        (1)  มองโกลอยด์           อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จีน ธิเบต มองโกเลีย

                        (2)  อินเดียนแดง           อยู่แถบทวีปอเมริกาทั้งตอนเหนือและตอนใต้

                        (3)  แอสกิโม                อยู่แถบเหนือสุดของทวีปอเมริกา รัฐอลาสก้า และตอนเหนือ

                                                           ของแคนาดา

                        (4)  มาลายัน                 อยู่แถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มะลายู ชวา ไทย บาหลี

                ค.  มนุษย์ชาติพันธุ์ผิวดำ  ผิวเนื้อของคนกลุ่มนี้มีสีน้ำตาลแก่ไปจนถึงดำคล้ำ จมูกแบน ผมหยิก  ริมฝีปากหนา  โหนกคิ้วยื่นออกมา  คางสั้น  กลุ่มย่อยของพวกผิวดำ  คือ

                        (1)  แอฟริกัน                อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา

                        (2)  ปิกมี่                      มีรูปร่างเตี้ยต่ำกว่า 140 ซม.ลงมา หรืออาจเรียกว่า เป็นพวก

                                                            คนแคระ อาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำคองโกในทวีปแอฟริกาส่วนอีก กลุ่มหนึ่ง

                                                            อาศัยอยู่ทางแหลมมะลายูและบางเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก

                        (3)  คนผิวดำที่อาศัยตามเกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น พวกปาปัวนิวกินีหมู่เกาะ

                               มาเลนีเซีย

2.  ทฤษฎีเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของมนุษย์

                มีผู้ตั้งคำถามเสมอว่า  สาเหตุใดที่ทำให้มนุษย์มีสีผิวต่างกัน  คำตอบของคำถามนี้มีอยู่หลากหลายตามสมมติฐานที่แต่ละคนตั้งไว้  ดังจะขอกล่าวโดยย่อดังนี้

                ก.  ฟรานส์ โบแอส  นักมานุษยวิทยาผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่งได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า การที่คนมีสีผิวต่างกันเป็นเพราะระดับของการปกป้องจากธรรมชาติไม่เท่ากัน   โบแอสยกตัวอย่างว่า หากจะพิจารณาดูหมี  จะเห็นได้ว่าหมีสีดำมักอาศัยตามเส้นศูนย์สูตรเพราะไม่ค่อยได้รับการปกป้องจากแสงอันแรงกล้าของดวงอาทิตย์เมื่อเปรียบเทียบกับหมีสีขาวที่อาศัยอยู่ตามขั้วโลก  อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือสัตว์เลี้ยงนอกบ้าน เช่น วัว และควายจะมีสีเข้มกว่าสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น แมว ซึ่งมีสีอ่อนกว่าเพราะได้รับการเลี้ยงดูในที่ร่ม  จากข้อสังเกตนี้เอง โบแอสจึงให้ความเห็นว่า ทฤษฎีนี้อาจใช้ในการอธิบายความแตกต่างทางด้านสีผิวของมนุษย์ที่คนผิวดำและผิวเหลืองอาศัยตามบริเวณเขตเส้นศูนย์สูตร  และคนผิวขาวมักอาศัยตามเขตอบอุ่นและเขตหนาว