สองสามีภรรยาชาวอังกฤษเป็นผู้นำในการขุดหาสายพันธุ์มนุษย์ด้วยการนำวิธีการเชิงโบราณคดีมาใช้7
หลุยส์เป็นลูกของมิชชั่นนารีชาวอังกฤษเกิดที่หมู่บ้านของคนเผ่าคิกูยูในแถบแอฟริกาตะวันออกในปี
คศ. 1903 ซึ่งอาจเป็นคนผิวขาวคนแรกที่ถือกำเนิดในกาฬทวีป
ภายหลังที่เรียนจบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เขาก็กลับไปทำงานขุดซากดึกดำบรรพ์บริเวณถิ่น
กำเนิดตั้งแต่ปี คศ. 1926
เมื่ออายุได้เพียง 23 ปี
ต่อมา เขาและภรรยา (ผู้ซึ่งเป็นนักโบราณคดี)
ได้ทำการขุดค้นที่ช่องเขาลึกโอดูไว
(Olduvai Gorge) ในประเทศทันซาเนีย
ณ ที่นี้
ได้พบกะโหลกอยู่รวมกับเครื่องมือหินที่ทำด้วยกรวดและหินประเภทต่าง
ๆ นอกจากนี้
เขายังได้พบที่อยู่อาศัยของโฮมินิดดังกล่าวด้วย
เขาจึงเรียกซากที่พบว่า
Zinjanthropus boisei คำนวนอายุราว
1.75 ล้านปีมาแล้ว
ต่อมาภายหลัง
เขาก็ยอมรับว่า
ซากดังกล่าวอยู่ในสกุลออสตราโลพิธิคัสและให้ความเห็นต่อไปอีกว่า
โฮมินิดยุคนี้สามารถทำเครื่องมือหินได้เป็นกลุ่มแรก
ส่วนลูกชายของหลุยส์และแมรี
ชื่อ ริชาร์ด ลีกกี้ (Richard Leakey)
ได้เจริญรอยตามอาชีพของบิดามารดา
ต่อมา ริชาร์ดค้นพบซากโครงกระดูก
ซึ่งคาดว่าได้วิวัฒนาการสูงขึ้นจากสกุลออสตราโลพิธิคัส
มาเป็นสกุลโฮโม ริชาร์ดจึงตั้งชื่อว่า
โฮโม แฮบิลิส (Homo habilis)
ซึ่งมีขนาดของสมองราว 775 ลบ.ซม.
และมีอายุราว 250,000
ปีมาแล้ว
โครงสร้างทางร่างกายของออสตราโลพิธิคัส
ลักษณะทั่วไปของออสตราโลพิธิคัส
มีดังนี้
(1) สามารถเดินเหิรด้วยเท้าทั้งสองข้าง
ส่วนมือจะเป็นอิสระและใช้ในการหยิบฉวยถือสิ่งของ
รวมทั้งทำเครื่องมือเครื่องใช้
เราเรียกวัฒนธรรมของพวกนี้ว่า
วัฒนธรรมโอดูแวนยุคต้น
(2)สามารถมองเห็นได้รอบทิศ
อาศัยอยู่ในป่าและตามทุ่งโล่ง
(3) สามารถเดินด้วยสองเท้าเป็นระยะทางไกลเพื่อออกไปล่าสัตว์
เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วด้วยสองเท้า
จึงทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมได้ง่าย
เราอาจจำแนกโครงสร้างทางร่างกายของโฮมินิดในสกุลออสตราโลพิธิคัสออกเป็น
2 สปิชี่
โดยมีความแตกต่างกันดังนี้