ในปี คศ.
1924 เขาพบหัวกะโหลกชิ้นหนึ่งที่บริเวณที่เรียกว่า Taung ซึ่งอยู่ห่างจากโจฮันสเบอร์กราว 200 ไมล์ ทันทีที่เขาพบ
ดาร์ทมีความรู้สึกว่ามันไม่ใช่หัวกะโหลกของสัตว์หรือวานรอย่างแน่นอน
เขาจึงนำมาวิเคราะห์ที่ห้องทดลองที่มหาวิทยาลัยและเปรียบเทียบกับหัวกะโหลกของมนุษย์ปัจจุบันและของลิงและวานร เขาพบว่า
มันมีลักษณะโครงสร้างที่แตกต่างจากหัวกะโหลกของวานรมาก แต่คล้ายคลึงกับของมนุษย์มากกว่า เขาจึงแน่ใจว่าเป็นหัวกะโหลกของโฮมินิด การค้นพบในครั้งนี้
ทำให้ดาร์ทรู้สึกตื่นเต้นมากเพราะเขาเชื่อว่าเขาพบซากโฮมินิดรุ่นแรกเป็นคนแรกของโลก ดังนั้น
จึงได้เขียนบทความเกี่ยวกับการค้นพบครั้งนี้ลงในวารสารชื่อ Nature ซึ่งตีพิมพ์ในปี
คศ. 1925 โดยเป็นคนแรกที่เรียกโฮมินิดชนิดนี้ว่า Australopithecus africanus
ผลงานในครั้งนี้ ยังผลให้ผู้คนทั่วโลกต่างแซ่ซ้องในการค้นพบของเขามาก อย่างไรก็ตาม
มีนักวิชาการบางคนแสดงความกังขาต่อการค้นพบและข้อสรุปครั้งนี้เช่นกัน
(2) นายแพทย์โรเบอร์ท บรูม
(Dr. Robert Broom)
โรเบอร์ท
บรูม ชาวสก๊อตแลนด์
เป็นผู้หนึ่งที่ให้ความสนใจศึกษาเรื่องการวิวัฒนาการของมนุษย์อย่างจริงจัง เขาได้เข้าร่วมเป็น "นักล่า"
ซากดึกดำบรรพ์ในแถบแอฟริกาตอนใต้ตั้งแต่ปี คศ. 1936 เป็นต้นมา สิ่งที่เขาค้นพบในบริเวณ Sterkfontein
ใกล้กับเมืองโจฮันเบอร์กเมื่อปี คศ. 1947
เป็นกะโหลกศีรษะและกระดูกเชิงกรานที่ค่อนข้างสมบูรณ์ของสกุลออสตราโลพิธิคัส
อันเป็นการยืนยันการปรากฏขึ้นของโฮมินิรุ่นแรกนี้ว่าเป็นจริง
บรูมได้ตั้งชื่อซากที่เขาค้นพบจำนวนหลายชื่อเป็นสปิชี่ต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
ก็จัดอยู่ในสกุลออสตราโลพิธิคัสนั่นเอง
|