4) ขอบเขต
(range)
หมายถึงปริมาณของเส้นความสัมพันธ์
โดยบางคนก็สร้างความสัมพันธ์กับคนมากมาย
ส่วนบางคนก็มีการติดต่อกับคนไม่มากนัก
โดยอาจจำแนกขอบเขตของการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่นเป็นสามระดับ
เช่น มาก ปานกลาง และน้อย
ข. คุณลักษณะในแง่การปฏิสัมพันธ์ต่อกันทางสังคม
(interactional criteria)
5) เนื้อหาหรือเป้าหมายของการติดต่อสัมพันธ์
(content) เช่น
ติดต่อเพราะเป็นญาติ
เพราะกิจกรรมทางการเมือง
เพราะงานอาชีพ ฯลฯ
6) ความสัมพันธ์ตรงทางเดียว
(directedness)
การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างผู้แสดงกับบุคคลอื่นนั้นเป็นไปในทางเดียว
โดยผู้นั้นไม่ต้องสร้างความสัมพันธ์กลับ
มิใช่เป็นความสัมพันธ์สองทาง
(reciprocity) หรืออีกนัยหนึ่งคือ
เป็นคุณลักษณะที่ผู้แสดงสร้างความสัมพันธ์กับอีกคนหนึ่ง
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตนเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น นายจ้าง
ลูกจ้าง
ในโรงงานขนาดใหญ่มักเป็นความสัมพันธ์ทางเดียวและแง่เดียวเฉพาะอาชีพเท่านั้น
7) ความหนาแน่น
(intensity)
หมายถึงระดับที่ปัจเจกบุคคลจะเชิดชูความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลคนนั้นมากน้อยแค่ไหน
หากเป็นผู้ที่รักและผู้ที่เคารพนับถือ
ระดับความสัมพันธ์ก็จะมีอยู่อย่างแน่นแฟ้น
ในทางตรงกันข้าม
หากเป็นคนที่มีความสำคัญน้อยต่อผู้แสดงหรืออยู่ห่างไกล
ระดับของความสัมพันธ์ก็จะต่ำ
8) ความถี่
(frequency)
หมายถึงจำนวนครั้งของการติดต่อที่ผู้แสดงกระทำต่อบุคคลอื่น
ซึ่งมักจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการติดต่อ
9) ความยืนยาว
(durability)
การติดต่อสัมพันธ์กับบางคนอาจยืนยาวตามข้อผูกพันและสิทธิหน้าที่
(obligation and rights) เช่น
ผู้แสดงจะมีความสัมพันธ์ยืนยาวกับพ่อแม่พี่น้อง
ในขณะที่ติดต่อกับบางคนเพียงครั้งเดียว
เมื่อบรรลุเป้าหมายแล้วก็เลิกติดต่อ
ตัวอย่างการนำแนวคิดนี้ไปศึกษา
ได้แก่
การศึกษาของแอดเดรียน
แมยร์
แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนที่ทำการศึกษาการเลือกตั้งที่อำเภอเดวาส
ประเทศอินเดีย
|