Blood
group
:
กลุ่มเลือด
กลุ่มเลือดทั้ง 4
ประเภทของมนุษย์
ซึ่งแบ่งประเภทออกตามลักษณะการมีหรือไม่มีธาตุเคมีสองชนิดที่เรียกกันว่า
A และ B กลุ่มที่ 1 หรือกลุ่ม O
อาจจะมี A หรือ B กลุ่มที่ 2
หรือกลุ่ม A ต้องมีประเภท A
ไม่มี B กลุ่มที่ 3 หรือกลุ่ม
B ที่จะมีประเภท B ไม่มี A
และกลุ่มที่ 4 หรือกลุ่ม AB
มีทั้ง A และ B
กลุ่มเลือดทั้ง 4 นี้
อาจจะพบว่าในแต่ละเชื้อชาติ
(ชาติพันธุ์)
มีกลุ่มเลือดชนิดใดชนิดหนึ่ง
เป็นเปอร์เซนต์สูงกว่าอีกเชื้อชาติหนึ่งได้
จะไม่มีความแตกต่างในส่วนผสมทางเคมีของเลือดประเภทเดียวกันในบุคคล
2 คนที่ต่างเชื้อชาติกัน
เช่น เปรียบเทียบคนนิโกรกับคนเชื้อชาตินอร์ดิก
ผู้ซึ่งมีกลุ่มเลือด A
เหมือนกัน
จะปรากฏว่าเลือดของคนเหล่านั้นไม่มีความแตกต่างกันทางเคมี
Medical
Anthropology
:
มานุษยวิทยาการแพทย์ปัจจุบันสาขามานุษยวิทยาการแพทย์ได้รับความสนใจมากที่สุด
ซึ่งมหาวิทยาลัยหลายแห่งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
รวมทั้งมหาวิทยาลัยมหิดลได้เปิดสอนในระดับชั้นปริญญาโท
และเอก
วิชานี้มีขอบเขตการศึกษากว้างขวาง
โดยนำความรู้สาขามานุษยวิทยากายภาพ
สาขาแพทยศาสตร์
และสาขามานุษยวิทยาสังคมวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อเรียนรู้ความสัมพันธ์ทางด้านสรีระ
ประเพณี วัฒนธรรม
และการแพทย์พื้นบ้านของคนแต่ละสังคมกับการแพทย์สมัยใหม่
ประเด็นที่นักมานุษยวิทยาการแพทย์ให้ความสนใจศึกษา
ได้แก่
วิธีการรักษาโรคพื้นบ้าน
การฝังเข็ม
วิธีป้องกันโรคพื้นบ้าน
การทำคลอดแบบพื้นบ้าน
ความเชื่อทางด้านการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาล
ความเชื่อเรื่องคนทรง
ผีปอบ และผีกะ
ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค
ตลอดจนความเชื่อเรื่องการกินอาหารและข้อห้ามในการบริโภคอาหารบางประเภท
นอกจากนี้
ยังให้ความสนใจในเรื่องยาสมุนไพร
และยาพื้นบ้าน
ผู้ที่ศึกษาวิชาแพทย์สมัยใหม่ในโรงเรียนแพทย์ทั่วโลกมักให้ความสนใจในหัวข้อดังกล่าวข้างต้นมากเท่า
ๆ
กับความสนใจศึกษาวิชาแพทย์และสาธารณสุขแผนปัจจุบัน
ในขณะเดียวกันมีนายแพทย์หลายคนที่หันมาศึกษาจนได้รับปริญญาเอกสาขามานุษยวิทยาอีกสาขาหนึ่ง
และต่างได้สร้างผลงานมีชื่อเสียงทางด้านมานุษยวิทยาทางการแพทย์มากมาย
ส่วนผู้ที่เรียนมาทางสาขามานุษยวิทยาโดยตรง
ก็จะให้ความสนใจศึกษามานุษยวิทยาการแพทย์
เมื่อพวกเขาจบการศึกษาต่างก็ออกไปทำงานในโรงพยาบาล
สาธารณสุขและสำนักงานอนามัยตามชุมชนและสังคมต่าง
ๆ ทั่วโลก
|