นักมานุษยวิทยากายภาพที่ศึกษาไพรเมตอีกประเภทหนึ่งจะศึกษาวิจัยและทำการทดลองเกี่ยวกับลิงที่ไม่มีหางและลิงมีหางประเภทต่าง
ๆ
ส่วนมากจะใช้การวิจัยแบบทดลองที่ทำในห้องทดลองแบบที่นักจิตวิทยาใช้กันมาก
เช่นศึกษาถึงองค์ประกอบของเคมีชีวะ
กลุ่มเลือด
การทำงานของอวัยวะ (เช่น
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ)
และการตอบโต้ของเส้นประสาทเมื่อถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้า
ลิงทั้งสองชนิดนี้จะถูกใช้มากในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง
ๆ
ที่ไม่อาจทำการทดลองโดยมนุษย์ได้
เช่น
การศึกษาถึงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการที่ถูกแยกออกจากความสัมพันธ์ทางสังคมตั้งแต่เกิด
กล่าวคือ
เมื่อแรกเกิดจะถูกนำมาขังในกรงตัวเดียวในระยะเวลาหนึ่ง
ไม่มีโอกาสพบปะกับลิงตัวอื่น
ๆ เลย
บางครั้งถูกขังรวมกับลิงตัวอื่น
ๆ ด้วย
เพื่อดูปฏิกิริยาตอบโต้หลังจากถูกขังเดี่ยวมาระยะเวลาหนึ่ง
ลิงบางตัวถูกขังในห้องมืดตั้งแต่เกิด
นอกจากนั้นลิงเหล่านี้ยังเป็นหนูตะเภาสำหรับการทดลองยาชนิดใหม่
ๆ
หรือถูกใช้ในการผ่าตัดและการทดลองอย่างอื่น
ๆ ที่ใช้กับมนุษย์ไม่ได้
เหตุผลที่ลิงเหล่านี้ถูกทดลองมากที่สุด
เพราะมันเป็นสัตว์ที่เหมือนมนุษย์มากทั้งลักษณะทางกายภาพ
และพฤติกรรม โดยเฉพาะลิงซิมแปนซีและกอริลล่า
นักมานุษยวิทยากายภาพอีกประเภทหนึ่งจะเน้นศึกษาพฤติกรรมของไพรเมต
การศึกษาพฤติกรรมของไพรเมตทำได้
2 อย่าง คือ
การศึกษาในห้องทดลองหรือไม่ใช่สภาพที่มันอยู่ตามธรรมชาติ
เช่น ในสวนสัตว์ในกรง
อีกวิธีหนึ่งคือการศึกษาไพรเมตในสภาพธรรมชาติ
กล่าวคือเข้าไปศึกษาในถิ่นที่อยู่ของมันในป่าจริง
ๆ
เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของลิงเหล่านี้ตามความเป็นจริง
การศึกษาแบบแรกมีข้อจำกัดมาก
เพราะลิงที่ถูกจับจากป่าหรือเกิดในห้องทดลองหรือในสวนสัตว์จะมีพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมชาติ
เช่น
เรื่องการกินที่ไม่ต้องหาอาหารเอง
มีการปรับตัวและมีพฤติกรรมอื่น
ๆ
ต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในป่า
ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้มีการศึกษาลิงในธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
เพื่อทำความเข้าใจกับพฤติกรรมประเภทต่าง
ๆ ของลิง เช่น การสร้างรัง
การกระทำระหว่างกัน
การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
ความก้าวร้าว (ที่สังเกตเห็นได้จากกิริยาท่าทางที่แสดงการข่มขู่)
ความอ่อนน้อม
ความสัมพันธ์ทางสังคม
การหาตัวหมัด
นักมานุษยวิทยากายภาพประเภทที่ศึกษาไพรเมตคิดว่าพฤติกรรมต่าง
ๆ
เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ในบรรพบุรุษของมนุษย์
|