การศึกษาเกี่ยวกับศิลปะตามหลักมานุษยวิทยา
หลายคนอาจจะสงสัยว่า
ทำไมศิลปะจึงต้องเกี่ยวเนื่องกับวิชามานุษยวิทยาด้วย
ทั้งนี้เพราะศิลปะมิได้เป็นวิทยาศาสตร์
ข้อความนี้อาจตอบได้ว่า
วิชามานุษยวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางวัฒนธรรม
จึงไม่อาจละเลยศิลปะซึ่งเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมสาขาหนึ่ง
วิธีการทางมานุษยวิทยาอาจจะแตกต่างไปจากการวิเคราะห์วิจารณ์ทางด้านศิลปะของศิลปินทั่วไป
พวกศิลปินและนักศิลปกรรมมักสนใจในผลงานของศิลปะแท้
ๆ
ว่าผลิตหรือสร้างขึ้นมาอย่างไร
แต่นักมานุษยวิทยาสนใจว่าหน้าที่ของศิลปะมีต่อการรวมกลุ่มของมนุษย์และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างไร
ทั้งนี้เพราะหน้าที่มีส่วนสัมพันธ์กับรูปแบบ
ทำให้นักมานุษยวิทยาสามารถเข้าใจถึงผลิตผลทางศิลปะอย่างแท้จริง
และอาจนำไปสู่การอธิบายถึงเหตุผลของการประดิษฐ์สิ่งนั้น
นอกจากนี้ยังให้ความสนใจต่อบทบาทและสถานภาพของศิลปินประเภทต่าง
ๆ ในสังคมด้วย(2)
การวิจารณ์ทางด้านศิลปะของศิลปินให้ความสนใจทางด้านกระบวนการทางจิตวิทยาเกี่ยวกับการผลิตผลงานนั้นว่าเป็นส่วนสำคัญในการแสดงออกซึ่งความนึกคิดทางด้านอารมณ์และประสบการณ์ของผู้สร้างอย่างไร
ตลอดจนวิวัฒนาการของศิลปะชนิดนั้น
ๆ ที่มีต่อจริยศาสตร์และคุณภาพของงานว่าเท่าเทียมกับมาตรฐานหรือไม่
ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะศึกษาศิลปะด้วยวิธีการนี้ในการศึกษาเปรียบเทียบกับงานศิลปะของสังคมอื่นที่ผู้สร้างอาศัยอยู่ในสังคมต่างวัฒนธรรมกัน
ดังนั้นนักมานุษยวิทยาชื่อ
เอ็ดมันด์ ลีชแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
จึงกล่าวว่า
เมื่อเรามองดูไม้แกะสลักของชาวนิกีนีหรือแอฟริกาตะวันตกหรือของพวกอินเดียนแดง
เราจะต้องคิดเสมือนหนึ่งว่าสิ่งเหล่านี้เป็นผลงานเช่นเดียวกับของพวกยุโรป
เราอาจจะชอบหรือไม่ชอบ
แต่เนื้อแท้แล้วชาวพื้นเมืองพวกนี้ต่างก็พยายามจะ
"แสดงออก"
ด้วยแนวความคิดเช่นเดียวกับชาวยุโรป
|