เครือญาติกับสถานภาพและบทบาท
มนุษย์ทุกคนถูกกำหนดให้สวมบทบาทตามตำแหน่งหรือสถานภาพที่ตนดำรงอยู่
เช่น เป็นนักเรียน เป็นลูก
เป็นสมาชิกของสังคม
เป็นหัวหน้ากอง ฯลฯ
สถานภาพนี้หมายความถึง "สิทธิและหน้าที่"
ที่ผู้อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวจะใช้สิทธิที่มีอยู่
และหน้าที่ที่จะต้องกระทำตามบทบาทในสังคมให้เหมาะสม
สถานภาพมีความเกี่ยวข้องกับสายสัมพันธ์ทางเครือญาติมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากครอบครัว
ผู้ที่อยู่ในสายตระกูลกษัตริย์
มักจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ต่อเมื่อกษัตริย์เก่าสวรรคต
หรือดำรงตำแหน่งตามยศศักดิ์ที่มีอยู่ตั้งแต่เกิด
สถานภาพแบบนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะสังคมหรือขนบธรรมเนียมประเพณีได้กำหนดอย่างแน่นอนตั้งแต่เกิด
ในสังคมอินเดีย
หากพ่อแม่อยู่ในวรรณะใด
ลูกต้องอยู่ในวรรณะนั้น ๆ
จะข้ามหรือเปลี่ยนไปอยู่วรรณะอื่นไม่ได้
ในขณะเดียวกัน
สถานภาพบางประเภทก็เอื้ออำนวยให้คนแสวงหาได้
ใครอยากมีสถานภาพสูง
ต้องใช้ความสามารถเข้าไขว่คว้า
เช่น ระดับการศึกษา
และการเป็นเศรษฐี เป็นต้น
ในสังคมจีนสมัยก่อน
ใครอยากได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ต้องสอบเพื่อเข้ารับราชการ
ดังนั้น ลูกชาวนา
หรือคนธรรมดาสามัญก็เป็นได้หากมีความรู้
มีความมานะพากเพียร
สถานภาพแบบนี้อาจเกี่ยวพันกับความสัมพันธ์ทางเครือญาติน้อย
ผู้อ่านลองพิจารณาสังคมของเราปัจจุบัน
สถานภาพที่ผู้คนได้รับมาเป็นเรื่องของสายสัมพันธ์ทางเครือญาติหรือต้องใช้ความสามารถของตนเอง
ซึ่งแบบไหนจะให้ประโยชน์ต่อสังคม
และเกิดประสิทธิภาพมากกว่ากัน
เครือญาติกับอำนาจและการเมือง
อำนาจที่จะกล่าวถึงนี้ทางมานุษยวิทยามิได้มีความหมายถึงพลังที่จะสามารถดลบรรดาลให้ทุกอย่างเป็นไปตามความประสงค์ของผู้มีอำนาจนั้น
หรือที่เรียกว่า power เช่น
อำนาจเงิน อำนาจของรัฐ
อำนาจมืดเท่านั้น
แต่ยังมีอำนาจที่เกี่ยวกับข้อผูกพันทางด้านอื่น
หรือที่เรียกกันว่า authority
เช่น ด้านศีลธรรม จรรยา
ประเพณี
หรือเครือญาติซึ่งก็เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ
ทั้งนี้เพราะอำนาจในข้อหลังนี้
แสดงถึงความมี "อำนาจ"
ที่จะให้คนอื่นปฏิบัติตาม
เช่นการยอมรับ "อำนาจ"
ของญาติผู้ใหญ่
จะสังเกตได้ว่าในบางสังคม
ผู้มีอาวุโสของครอบครัวขยายขนาดใหญ่จะมีอำนาจในการปกครองคนในกลุ่มสังคมนั้น
คนเลือกและยอมรับอำนาจของเขาก็เพราะคนนั้นเป็นญาติผู้ใหญ่
ส่วนผู้มีอำนาจรองลงไปก็จะได้รับการแต่งตั้งจากหัวหน้าที่เขาเหล่านั้นเลือกขึ้นมา
ดังนั้น
ความเกี่ยวกันทางสายญาติจึงมีแน่นแฟ้น
ผูกพันกันไปถึงการได้มาซึ่งอำนาจ
และการใช้อำนาจ
ตลอดจนการเคารพเชื่อฟัง
และการตัดสินข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นด้วย
|