ประเด็นสำคัญในการศึกษาเรื่องครอบครัว
แม้ว่าครอบครัวจะเป็นวัฒนธรรมสากล
แต่ก็จะมีความแตกต่างบังเกิดขึ้นทั้งในรูปแบบโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก
ตลอดจนลักษณะโครงสร้างทางกายภาพของครัวเรือนและการถ่ายทอดทรัพย์สิน
ดังนั้น
นักมานุษยวิทยาจึงต้องพยายามหาคำตอบจากคำถามดังต่อไปนี้ในขณะที่ออกไปศึกษาสังคม
(1) กระบวนการก่อตั้งครอบครัว
การเกี้ยวพาราสีและการก่อตั้งครอบครัวเป็นอย่างไร
(2) รูปแบบ
รูปแบบการอยู่ร่วมกันทางครอบครัวเป็นอย่างไร
ความสัมพันธ์ของการแต่งงานนั้นคู่สมรสมีผู้ชายกี่คน
และหญิงกี่คน เช่น
อาจเป็นรูปของครอบครัวผัวเดียวเมียเดียว
หรือหลายผัวหลายเมีย
(3) การเลือกคู่ครองเป็นแบบใด
เช่น
เลือกคู่สมรสจากคนในหมู่บ้านเดียวกันหรือจากคนนอกหมู่บ้าน
ใครเป็นคนเลือกคู่สมรสให้
เช่น แบบคลุมถุงชน
ใช้แม่สื่อ
หรือเลือกด้วยตนเอง
(4) แต่งงานแล้วไปอยู่กับใตร
เช่น
ย้ายไปอยู่กับครอบครัวหรือในหมู่บ้านของสามี
หรือหมู่บ้านของภรรยา
หรือแยกออกไปตั้งเป็นครอบครัวใหม่
(5) การกระจายอำนาจในครอบครัว
เช่น ใครเป็นใหญ่ในบ้าน
พ่อ หรือแม่
หรือเป็นแบบประชาธิปไตย
(6) หน้าที่ของครอบครัว
ครอบครัวทำหน้าที่อะไรบ้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับกระบวนการอบรมสั่งสอนลูกและการควบคุม
(socialization and social control)
ใครเป็นผู้ดูแลครอบครัวในขณะที่พ่อแม่ไปทำงาน
บทบาทของผู้ดูแลมีผลต่อพฤติกรรมและค่านิยมในการดำเนินชีวิตอย่างไร
รวมทั้งต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม(3)
(7) การแบ่งงานกันทำระหว่างสมาชิกในครัวเรือน
และรายได้ - รายจ่าย
ตลอดจนแบบแผนการจัดหาและแจกจ่ายทรัพยากร
ตลอดจนการถ่ายทอดทรัพย์สินของครอบครัวไปให้แก่ลูกคนใด
ในอัตราส่วนเท่าไร ฯลฯ
(8) โครงสร้างทางกายภาพของครัวเรือน
เช่น ลักษณะของแบบบ้าน
การแบ่งห้อง ต่าง
ๆ เป็นอย่างไร
การใช้ประโยชน์จากใต้ถุนบ้านและลานบ้าน
|