ในสังคมปัจจุบันความซับซ้อนของสังคมมีมากและการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อกันได้รับการปรุงแต่งเป็นรูปของสัญลักษณ์ต่าง
ๆ
จนบางครั้งเราไม่สามารถจะสืบกลับไปหาพื้นฐานของพฤติกรรมนั้น
ๆ ได้เลย
และอีกประการหนึ่งสังคมบางสังคมที่นักมานุษยวิทยาออกไปศึกษานั้นแม้ว่าจะมิใช่เป็นสังคมอุตสาหกรรม
ที่ซึ่งมีคุณลักษณะแตกต่างจากสังคมดั้งเดิมประดุจสีดำกับสีขาว
แต่ก็เป็นสังคมที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างสังคมทั้ง
2 ประเภทนี้ ได้แก่
สังคมชนบท ชาวประมง
สังคมเมืองก่อนอุตสาหกรรมหรือแม้แต่สังคมเมืองใหญ่
ๆ
บางสังคมก็จะมีลักษณะเป็นแบบชนบทในเมือง
(village in city)
ซึ่งคนที่มีวัฒนธรรมเดียวกันหรืออพยพมาจากแหล่งเดียวกันมักจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มในเมือง
(re-tribalization) เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้
ผู้ศึกษาจึงควรจะได้ทราบถึงแนวความคิดขั้นพื้นฐานเสียก่อนแล้วนำมาเทียบเคียงกับปรากฏการณ์จริงในสังคมปัจจุบัน
ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมได้ดียิ่งขึ้น
อนึ่ง ในปัจจุบัน
นักมานุษยวิทยาได้ใช้วิธีการศึกษาแบบนี้กับสังคมสมัยใหม่
เช่น
การศึกษาเรื่องของกำนัลและภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษ
เป็นต้น
อีกประการหนึ่ง
ผลสะท้อนของพฤติกรรมทางสังคมเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนอาจมีผลกระทบต่อระบบสังคมด้านอื่น
ๆ เช่น
การแต่งงานและเครือญาติ
การเมือง
ความเชื่อทางด้านศาสนา
ตัวอย่างเช่น
การแต่งงานและการมีสินสอดทองหมั้นนั้นอาจอธิบายในแง่ของการแลกเปลี่ยนได้ดังนี้
1. เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างทรัพย์สมบัติของฝ่ายชายกับผู้หญิง
เช่น
ในสังคมที่แรงงานมีความสำคัญต่อการผลิตมากนั้น
การที่จะให้แรงงานผู้หญิงแก่อีกฝ่ายหนึ่งจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับสิ่งของเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อทดแทนแรงงานที่ขาดไป
2. เป็นการกระจายทรัพย์สินของกลุ่มฝ่ายชายไปยังกลุ่มฝ่ายหญิง(8)
ในบางกรณี
การแลกเปลี่ยนมีผลต่อการผดุงสถานภาพ
(status quo)
ทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองด้วย
นั่นหมายถึงว่า
การกระจายผลผลิตได้กระทำกันเฉพาะหมู่ผู้ที่อยู่ในสถานภาพทางด้านเศรษฐกิจเดียวกันอันอาจก่อให้เกิดผลทางด้านการเมืองในรูปของการสนับสนุนการเลือกตั้งสภาเทศบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย
|