บทที่ 8 มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม  >> หน้า 31


ความส่งท้าย

                มานุษยวิทยาสังคมเน้นศึกษา "สายใยแห่งความสัมพันธ์ของคนในสังคม"  ส่วนมานุษยวิทยาวัฒนธรรมมุ่งแสวงความรู้เกี่ยวกับ "วัฒนธรรม" หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น อย่างไรก็ดี แม้ว่าจุดเน้นของการศึกษาจะต่างกัน แต่วิชามานุษยวิทยาก็มีจุดร่วม  ก็คือ มุ่งศึกษาสังคมอื่นที่สมาชิกมีแบบแผนการดำรงชีวิตแตกต่างไปจากสังคมวัฒนธรรมของชาวยุโรป และมองวัฒนธรรมของสังคมทั้งสังคม อีกทั้งใช้วิธีการศึกษาแบบ "การสังเกตแบบมีส่วนร่วม" ในการเก็บข้อมูลจริงจากสังคมที่ต้องการศึกษา 

                ต่อมา เพื่อกาลเวลาผ่านไป ได้เกิดความหลากหลายในเรื่องแนวคิดทฤษฎีในการมองสังคม และวิธีการศึกษาซึ่งได้มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  ทำให้มีการขยายของเขตการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเป็นการศึกษาสังคมวัฒนธรรมของชุมชนทั่วโลก แทนที่จะมุ่งศึกษาเฉพาะสังคมวัฒนธรรมที่ตั้งอยู่นอกทวีปยุโรปดังเช่นอดีต แต่ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของการศึกษาเชิงมานุษยวิทยาไว้

                ความเด่นของการศึกษาเชิงมานุษยวิทยาส่งผลให้นักวิชาการในสาขานี้ผลิตผลงาน/ความรู้ทางด้านสังคมวัฒนธรรมได้ดีที่สุด