บทที่ 8 มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม  >> หน้า 18


               จากอาชีพของคนดังกล่าว อาจเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์กับวรรณะที่คนสังกัดอยู่ การสำรวจพบว่า กลุ่มวรรณะมีจำนวนตามที่แสดงในตารางที่ 8.2

ตารางที่ 8.2

                  วรรณะ                              

 

 

จำนวนเปอร์เซ็นต์

         เกาลี                                              

 

 

17.1

        บากรี                                             

 

 

17.1

        ลูเนีย                                             

 

 

10.1

        บาไล                                              

 

 

 9.4

        ราชบุตร                                            

 

 

 8.2

        พราหมณ์ทางเหนือ (แรงเถร)                            

 

 

 8.2

        มาราธา                                            

 

 

 6.5

        พราหมณ์มหาราเซียน                                    

 

 

 5.9

        อื่น ๆ                                             

 

 

17.6

                                รวม                     

 

 

          100.0

                พวกพราหมณ์และมาราธาส่วนใหญ่จะทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ ของรัฐการ ส่วนพวกราชบุตรจะทำเกษตรกรรมในพื้นที่นอกเมือง โดยมีพวกเกาลีและบากรีเป็นลูกจ้างการเกษตร มีพวกบากรีบางคนที่เป็นตำรวจและทำงานในรัฐบาล ส่วนพวกเกาลีส่วนใหญ่จะเป็นคนเลี้ยงโคนม ส่วนพวกบาไลและลูเนียเป็นกรรมกร พวกลูเนียนี้บางส่วนมีฝีมือในการก่อสร้างด้วย การจัดความสูงต่ำของวรรณะของอำเภอนี้ เรียงลำดับจาก พราหมณ์ มาราธา ราชบุตร เกาลี ลูเนีย บากรี และบาไลตามลำดับ

                ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง ผู้สมัครต้องได้รับการสนับสนุนจากคนทุกวรรณะ ทุกชั้นและอาชีพ ดังนั้น การหาเสียงจะต้องเข้าไปถึงคนทุกคนเพื่อจะได้เสียงสนับสนุน ซึ่งอาจจะใช้นโยบายเร่งเร้าหรือสร้างความเกี่ยวพันส่วนตัวโดยตัวผู้สมัครเองหรือผ่านตัวแทนของพรรคไปยังผู้เลือก  ดังจะได้แสดงในแผนภาพ 8.2