จะเห็นได้ว่าอุดมการณ์ของพรรคและนโยบายของการหาลูกพรรคโดยใช้ความสัมพันธ์เป็นส่วนตัวมีอิทธิพลต่อผู้ลงคะแนนเสียง
ผู้วิจัยมิได้สนใจกับการรณรงค์หาเสียงตามสถานที่
ชุมชนต่าง ๆ
และวิธีการชักจูงต่อหน้ามหาชนที่มาฟัง
แต่สนใจในรูปของการติดต่อและความสัมพันธ์เชิงส่วนตัว
ตลอดจนการรับเข้าเป็นสมาชิกของพรรคโดยวิธีการนี้
โดยบรรยายให้เกิดภาพพจน์ถึงความสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่ต่อกันเป็นร่างแห
และเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในกรณีที่มีกิจกรรมการเลือกตั้งครั้งนี้
เพื่อจะแสดงให้เห็นภาพดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง
จึงขอบรรยายถึงสถานการณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้งของผู้สมัครคนหนึ่งและลักษณะของการรณรงค์หาเสียงของเขา
ในแขวงหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นเขตสำคัญเขตหนึ่งที่ผู้สมัครกำลังแข่งขันกันอยู่นั้น
ในการเลือกตั้งครั้งก่อนผู้สมัครของพรรคคองเกรสได้รับชัยชนะในการเลือก
คือ ในจำนวน 852 เสียง
พรรคนี้ได้รับเลือก 510
เสียง หรือประมาณ 60
เปอร์เซนต์
และเอาชนะผู้สมัครพรรคอิสระ
ซึ่งได้รับเลือก 252 เสียง
ส่วนพรรคประชาสังคมนิยมมีจำนวน
90 เสียง จะเห็นได้ว่าพรรค
คองเกรส
แม้จะได้รับชัยชนะแต่ก็ไม่ได้มีชัยชนะเด็ดขาด
เพราะมีคนกล่าวกันว่าผู้สมัครของพรรคนี้ให้ความสนใจน้อยต่อการตั้งป้อมเพื่อกันพรรคอื่น
ในปีของการเลือกตั้ง คศ.
1961
ผู้สมัครพรรคอิสระได้สมัครอีกครั้งหนึ่ง
คราวนี้เขาเป็นข้ารัฐการเก่าชื่อ
จาน ซางห์
ตัวจาน ซางห์เองมิได้เป็นคนที่เข้มแข็งในการหาเสียงแต่พรรคพวกของเขาได้กระทำการแทนเขาเป็นส่วนใหญ่
คู่ต่อสู้ของเขาคือผู้สมัครจากพรรคคองเกรส
ซึ่งเป็นชายเพิ่งปลดเกษียณอายุเมื่อเร็ว
ๆ นี้
จากตำแหน่งชั้นสูงของรัฐบาลและเคยได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งงานที่สำคัญของอำเภอเดวาสนี้ด้วย
แต่ผู้สมัครของพรรคคองเกรสคนนี้มิได้เป็นสมาชิกของพรรคนี้มาก่อน
เพิ่งมาเป็นเมื่อเขาออกจากงาน
ฉะนั้น เขาจึงมิได้เป็น
"คนวงใน" ของพรรค
อย่างไรก็ตามแรงสนับสนุนที่เขาได้จากลูกพรรคคนสำคัญมีมากกว่าที่จาน
ซางห์
ได้รับจากพรรคพวกของเขา
อนึ่งจุดอ่อนของพรรคคองเกรสคือมิได้เสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีสิทธิออกเสียงในเขตของตน
เพียงแต่หาเสียงที่โน่นที่นี่นิดหน่อย
ส่วนคนสมัครคนที่สามมาจากพรรคประชาสังคมนิยม
มีนิวาสถานอยู่ในเขตนั้น
แต่มีอิทธิพลทางการเมืองน้อยและได้รับการสนับสนุนน้อยมากจากลูกพรรคประชาสังคมนิยมด้วย
ฉะนั้น ในการเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นการแข่งขันระหว่างจาน
ซางห์ และคนของพรรคคองเกรส
|