(9) มีการพัฒนาการใช้สายตาได้ดี
ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการขยายส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น
ทั้งนี้ เพราะไพรเมตลดการดมกลิ่นลง
จึงจำเป็นต้องใช้สายตาเพื่อการมองเห็น
รวมทั้งสามารถพัฒนาการมองเห็นสิ่งของตามสีสันธรรมชาติได้อีกด้วย
(10)ขนาดของสมองใหญ่ขึ้นและมีความสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น
เช่น
สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับสายตา
กับการคิด
และกับการใช้ภาษา
เป็นต้น
(11) มีวิธีการเลี้ยงทารกที่มีประสิทธิภาพ
รวมทั้งใช้เวลาตั้งครรภ์ยาวนาน
(12) จำเป็นต้องพึ่งพาพ่อแม่เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมต่าง
ๆ ดังนั้น
ช่วงการเป็นทารกและเป็นเด็กจึงมีระยะเวลายาวนาน
(13) ตัวผู้ (เพศชาย)
จะอาศัยอยู่ร่วมกับครอบครัวอย่างถาวร
ซึ่งผิดกับสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่นที่ตัวผู้จะอยู่กับครอบครัวไม่นาน(1)
กล่าวโดยสรุป
ไพรเมตก็คือสัตว์เลือดอุ่นที่มีกระดูกสันหลังและเลี้ยงลูกด้วยนม
แต่มีคุณลักษณะบางประการที่แตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่นดังที่เพิ่งกล่าวมาแล้วเพราะได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
ไพรเมตรุ่นแรกเกิดขึ้นบนโลกเมื่อราว
65
ล้านปีในตอนต้นของยุคซีโนโซอิก
(หรือมีชื่อเรียกเป็นยุคย่อยว่า
พาลิโอซีน อยู่ในระหว่าง
65 - 58 ล้านปีมาแล้ว)
อากาศในยุคนั้นเริ่ม
อบอุ่นขึ้น มีป่าไม้และอาหารอุดมสมบูรณ์
นักมานุษยวิทยาศึกษาเรื่องราวของพวกไพรเมต
2 วิธี
คือ
(1) ศึกษาจากซากดึกดำบรรพ์ที่เก็บหรือขุดค้นพบจากใต้ดิน
แล้วนำมาพิสูจน์เพื่อทำความเข้าใจลักษณะโครงสร้างทางร่างกายของไพรเมตแต่ละยุค
จนกลายเป็นมนุษย์ เราเรียกการศึกษาในสาขานี้ว่า
มานุษยวิทยาสาขาโบราณศึกษา
(Paleoanthropology)(2)
(2) ศึกษาจากไพรเมตที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
ด้วยการเปรียบเทียบโครงสร้างทางร่างกายและพฤติกรรมของไพรเมตแต่ละชนิด
เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสายพันธุ์และสายการวิวัฒนาการ
เราเรียกการศึกษาในสาขานี้ว่า
มานุษยวิทยาสาขาไพรเมตศึกษา
(Primatology)(3)
|